Abstract:
กบมีลักษณะเหมาะสมต่อการเป็นสิ่งมีชีวิตเฝ้าระวังภัยในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากลักษณะของผิวหนังทำให้สารแปลกปลอมผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและมีผลต่อการเจริญของกบ จากการศึกษาก่อนหน้าพบว่ากบหนอง Fejervarya limnocharis เพศผู้ตัวเต็มวัยในพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดน่าน ซึ่งมีการใช้สารฆ่าวัชพืชในระดับที่แตกต่างกัน แสดงภาวะเพศกำกวมหรือมี testicular ovarian follicle (TOFs) ในอัณฑะ แต่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นผลมาจากการปนเปื้อนสารฆ่าวัชพืชในพื้นที่เกษตรหรือเป็นกระบวนการเจริญตามปกติของอัณฑะกบหนอง ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างจุลกายวิภาคของอัณฑะของกบหนองเพศผู้ในพื้นที่ที่ไม่มีประวัติการปนเปื้อนสารฆ่าวัชพืช โดยเก็บตัวอย่างกบหนองที่พบจากวิธี visual encounter surveys ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และสถานีวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ.2561 หลังจากการุณยฆาตนามาวัดความยาวและชั่งน้ำหนักตัวกบและอัณฑะ รักษาสภาพอัณฑะ นำเนื้อเยื่อมาทาสไลด์ถาวรด้วยวิธี paraffin method และย้อมด้วยสี hematoxylin และ eosin แล้วนำมาตรวจสอบ TOFs ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ผลการศึกษาพบว่าค่าสุขภาวะและ gonadosomatic index ของกบในพื้นที่นี้มีค่าใกล้เคียงกับกบที่พบในพื้นที่อ้างอิงในจังหวัดน่าน และมีอัตราการพบ TOFs ใน ระยะตัวเต็มวัย ระยะก่อนเต็มวัย และ ระยะวัยอ่อน คือ 46/50 (ร้อยละ 92) 7/7 (ร้อยละ 100) และ 6/6 (ร้อยละ 100) ตามลำดับ การปรากฏของภาวะเพศกำกวมในกบหนองที่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่มีประวัติการใช้สารฆ่าวัชพืช สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาความเหมาะสมของการใช้ภาวะเพศกำกวมเป็นตัวบ่งชี้เชิงผลกระทบ และเชิงความไวต่อการปนเปื้อนของสารฆ่าวัชพืชในกบหนอง