DSpace Repository

ภาวะเพศกำกวมในกบหนอง Fejervarya limnocharis (Gravenhorst, 1829) เพศผู้ ในป่าอนุรักษ์และสถานีวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor นพดล กิตนะ
dc.contributor.advisor จิรารัช กิตนะ
dc.contributor.advisor ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ
dc.contributor.author ศดานันท์ สุ่มมาตย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-13T06:57:39Z
dc.date.available 2020-03-13T06:57:39Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64346
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract กบมีลักษณะเหมาะสมต่อการเป็นสิ่งมีชีวิตเฝ้าระวังภัยในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากลักษณะของผิวหนังทำให้สารแปลกปลอมผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและมีผลต่อการเจริญของกบ จากการศึกษาก่อนหน้าพบว่ากบหนอง Fejervarya limnocharis เพศผู้ตัวเต็มวัยในพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดน่าน ซึ่งมีการใช้สารฆ่าวัชพืชในระดับที่แตกต่างกัน แสดงภาวะเพศกำกวมหรือมี testicular ovarian follicle (TOFs) ในอัณฑะ แต่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นผลมาจากการปนเปื้อนสารฆ่าวัชพืชในพื้นที่เกษตรหรือเป็นกระบวนการเจริญตามปกติของอัณฑะกบหนอง ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างจุลกายวิภาคของอัณฑะของกบหนองเพศผู้ในพื้นที่ที่ไม่มีประวัติการปนเปื้อนสารฆ่าวัชพืช โดยเก็บตัวอย่างกบหนองที่พบจากวิธี visual encounter surveys ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และสถานีวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ.2561 หลังจากการุณยฆาตนามาวัดความยาวและชั่งน้ำหนักตัวกบและอัณฑะ รักษาสภาพอัณฑะ นำเนื้อเยื่อมาทาสไลด์ถาวรด้วยวิธี paraffin method และย้อมด้วยสี hematoxylin และ eosin แล้วนำมาตรวจสอบ TOFs ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ผลการศึกษาพบว่าค่าสุขภาวะและ gonadosomatic index ของกบในพื้นที่นี้มีค่าใกล้เคียงกับกบที่พบในพื้นที่อ้างอิงในจังหวัดน่าน และมีอัตราการพบ TOFs ใน ระยะตัวเต็มวัย ระยะก่อนเต็มวัย และ ระยะวัยอ่อน คือ 46/50 (ร้อยละ 92) 7/7 (ร้อยละ 100) และ 6/6 (ร้อยละ 100) ตามลำดับ การปรากฏของภาวะเพศกำกวมในกบหนองที่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่มีประวัติการใช้สารฆ่าวัชพืช สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาความเหมาะสมของการใช้ภาวะเพศกำกวมเป็นตัวบ่งชี้เชิงผลกระทบ และเชิงความไวต่อการปนเปื้อนของสารฆ่าวัชพืชในกบหนอง en_US
dc.description.abstractalternative Frogs have been used as sentinels for environmental health hazards since their skin is relatively permeable to xenobiotics and their development can be affected by an environmental contamination. Prior study in Nan province revealed that the rice frog, Fejervarya limnocharis, living in agricultural areas with different degree of herbicide utilization showed testicular ovarian follicles (TOFs) in adult male testis. It is unclear whether the presence of TOFs is linked to a background contamination of herbicide in the agricultural areas or a normal developmental process of the testis in this species. This study thus aims to examine histological structure of testis in the male rice frog living in areas with no background contamination of herbicide. In 2018, male frogs were field collected after visual encounter surveys from the Chulalongkorn University Forest and Research Station, Saraburi province. After euthanasia, frogs were measured for snout-to-vent length (SVL) and body weight. Testes were weighed, fixed, preserved and processed through paraffin method and subjected to hematoxylin and eosin staining. Histology of testis was examined under a light microscope and an incidence of TOFs was recorded. Results showed that condition factor (an indicative of overall health) and gonadosomatic index of frogs in this area are comparable to those of the rice frogs in reference areas in Nan province. Incidences of TOFs in adult, subadult and juvenile frogs are 46/50 (92%), 7/7 (100%) and 6/6 (100%), respectively. Presence of TOFs in the male rice frog living in area with no history of herbicide utilization could be further used to evaluate the proper use of the TOFs as a biomarker of effect and susceptibility for herbicide contamination in this frog species. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ภาวะเพศกำกวมในกบหนอง Fejervarya limnocharis (Gravenhorst, 1829) เพศผู้ ในป่าอนุรักษ์และสถานีวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี en_US
dc.title.alternative Intersex condition in the male rice frog Fejervarya limnocharis (Gravenhorst, 1829) living in CU Forest and Research Station, Saraburi province en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Noppadon.K@Chula.ac.th
dc.email.advisor Jirarach.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record