dc.contributor.advisor |
จิตรตรา เพียภูเขียว |
|
dc.contributor.author |
พบธรรม โกศลวัฒนา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-03-13T09:55:56Z |
|
dc.date.available |
2020-03-13T09:55:56Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64353 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
en_US |
dc.description.abstract |
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรากเอ็กโทไมคอร์ไรซานับเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการจำแนกกลุ่มราเอ็กโทไมคอร์ไรซา โครงงานวิจัยนี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการพัฒนาของรากเอ็กโทไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะหนัง (Astraeus odoratus) เห็ดน้ำหมาก (Russula sanguinaria) และเห็ดระโงกเหลือง (Amanita javanica) ในกล้าไม้ตะเคียนทอง (Hopea odorata) พะยอม (Shorea roxburghii) และยางนา (Dipterocarpus alatus) จากการเติมหัวเชื้อราเอ็กโทไมคอร์ไร-ซาเห็ดเผาะหนัง เห็ดน้ำหมาก และเห็ดระโงกเหลืองให้กับกล้าไม้ พบว่าเห็ดเผาะหนังสามารถสร้างเอ็กโท-ไมคอร์ไรซากับรากกล้าไม้ทดสอบทั้ง 3 ชนิด ภายในเวลา 2 เดือน โดยพบรูปแบบของรากเอ็กโทไมคอร์ไร-ซาแบบ irregular, unbranched และ dichotomous ในกล้าไม้ยางนา รูปแบบ monopodial pinnate และ irregular ในกล้าไม้พะยอม และรูปแบบ monopodial pinnate และ unbranched ในกล้าไม้ตะเคียนทอง สำหรับต้นกล้าไม้ที่ใส่หัวเชื้อเห็ดน้ำหมากพบการสร้างเอ็กโทไมคอร์ไรซากับรากกล้าไม้ยางนาเท่านั้น โดยมีรูปแบบของรากเป็นแบบ unbranched และไม่พบการสร้างรากเอ็กโทไมคอร์ไรซาในต้นกล้าไม่ที่ใส่หัวเชื้อเห็ดระโงกเหลือง จากการตรวจสอบชนิดของรากเอ็กไทไมคอร์ไรซาที่ได้ด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอ-ไทด์ที่ตำแหน่ง ITS พบว่ารากเอ็กโทไมคอร์ไรซาที่ได้เป็นของเห็ดเผาะหนัง แต่รากเอ็กโทไมคอร์ไรซาที่ได้จากการใส่หัวเชื้อเห็ดน้ำหมากนั้นเป็นรากเอ็กโทไมคอร์ไรซาของราเอ็กโทไมคอร์ไรซาสกุล Tomentella และไม่พบการสร้างเอ็กโทไมคอร์ไรซาในรากต้นกล้าไม่ทุกชนิดในชุดการทดลองควบคุม |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Morphology of ectomycorrhizal root is the fundamental information for ectomycorrhizal fungi classification. The objective of this project was to study the morphology and development of ectomycorrhizal roots of Hopea odorata, Shorea roxburghii and Dipterocarpus alatus seedlings inoculated with ectomycorrhizal fungi Astraeus odoratus, Russula sanguinaria and Amanita javanica. The results showed that A. odoratus was able to form ectomycorrhizal with roots of all tested plant species within 2 months. The morphotypes of D. alatus ectomycorrhizal roots were irregular, unbranched and dichotomous. The morphotypes of S. roxburghii ectomycorrhizal roots were monopodial pinnate and irregular. The morphotypes of H. odorata ectomycorrhizal roots were monopodial pinnate and unbranched. Only D. alatus seedlings inoculated with R. sanguinaria formed ectomycorrhizal roots with unbranched morphotype and none of tested seedlings inoculated with A. javanica formed ectomycorrhiza. The molecular identification based on ITS sequence analysis of ectomycorrhizal roots confirmed that the ectomycorrhizal roots inoculated with A. odoratus were belonged to A. odoratus. but the ectomycorrhizal roots inoculated with R. sanguinaria were identified to ectomycorrhizal fungus Tomentella. Ectomycorrhizal formations were not found in control seedlings. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.title |
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเอ็กโทไมคอร์ไรซาในกล้าไม้ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.) พะยอม (Shorea roxburghii G. Don) และยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) |
en_US |
dc.title.alternative |
Morphological characters of ectomycorrhizal roots in Hopea odorata Roxb., Shorea roxburghii G. Don and Dipterocarpus alatus Roxb. seedlings. |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Jittra.K@Chula.ac.th |
|