Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงพัฒนาการขององค์กรปกครองท้องถิ่นในรูปของ “เทศบาล” ที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการปฏิบัติสยาม 2475 จนถึงการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2500 รวมทั้งผลกระทบของการจัดการเทศบาลต่อบทบาทของอำนาจท้องถิ่นในเขตเทศบาล จากการศึกษาพบว่า พัฒนาของเทศบาลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก เป็นระยะกำเนิดและก่อตัวของเทศบาล (พ.ศ. 2476-2480) ภายใต้แนวความคิดในการจัดการปกครองของคณะราษฎร ที่ต้องการให้เทศบาลมีส่วนในการฝึกฝนราษฎรให้เข้าใจวิธีการปกครองแบบใหม่ตามระบอบรัฐธรรมนูญ รูปแบบของเทศบาลในระยะนี้จึงมีลักษณะแบบ สภา - นายกเทศมตรี ที่สภามีอำนาจเข้มแข็ง ระยะที่สอง เป็นระยะที่รัฐเร่งพัฒนาเทศบาลและแก้ปัญหาความอ่อนแอของฝ่ายบริหาร ให้เอื้อประโยชน์ต่อการบำรุงท้องถิ่นตามนโยบายสร้างชาติ ของจอม ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487) จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเทศบาลเป็นแบบคณะกรรมการเพื่อให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจเข้มแข็ง และในระยะที่สาม เป็นระยะของการชะลอตัวและการเสื่อมถอยของเทศาล ภายใต้บรรยากาศทางการเมืองหลังการรัฐประหาร (พ.ศ. 2590-2500) ที่รัฐพยาบาลควบคุมเทศบาล โดยการให้ข้าราชการประจำเข้ามามีบทบาทและควบคุมการดำเนินงานภายในเทศบาลมากขึ้น ลักษระเหล่านี้ส่งผลกระทบให้เทศบาลมีความเป็นอิสระน้อยลง และสร้างความอ่อนแอให้กับเทศบาลในการปกครองตนเอง การจัดการปกครองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นได้แกให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มอำนาจท้องถิ่นต่าง ๆ ที่อยู่นอกระบบราชการ ให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรภายในท้องถิ่นอย่างเป็นทางการครั้งแรก ฝ่านกระบวนการเลือกตั้งและการแต่งตั้งจากรัฐบาล ซึ่งทำใหกลุ้มอำนาจท้องถิ่นเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ที่มีความสำคัญขึ้นมาควบคู่กับกลุ่มอำนาจในระบบราชการ