DSpace Repository

ปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่ส่งผลต่อการเลือกบริเวณขุดรูของแย้ผีเสื้อ Leiolepis belliana (Hardwicke and Gray, 1827) บนเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor นนทิวิชญ ตัณฑวณิช
dc.contributor.author ปัถย์ ปราณปารกุลณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-16T07:56:40Z
dc.date.available 2020-03-16T07:56:40Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64357
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract แย้ผีเสื้อ Leiolepis belliana เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศ ปัจจุบันแย้ผีเสื้อมีจำนวนลดลงในธรรมชาติเนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย และถูกล่าโดยมนุษย์เพื่อนำมาบริโภค จึงจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์เพื่อเพิ่มจำนวนในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อแย้ผีเสื้อยังมีไม่เพียงพอ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่ส่งผลต่อการเลือกบริเวณขุดรูของแย้ผีเสื้อ L. belliana บนเกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในแปลงศึกษาขนาด 7 เมตร x 10 เมตร บริเวณ 3 พื้นที่บนเกาะแสมสาร ได้แก่ หาดลูกลม หาดเทียน และหาดหน้าบ้าน ทำการสำรวจและบันทึกจำนวนรูของแย้ผีเสื้อทุก ๆ 2 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ทำการเก็บข้อมูลปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ การปกคลุมของหญ้า ความสูงของหญ้า ค่า pH ของดิน ลักษณะของเนื้อดิน ความชื้นในดิน อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ รวมถึงอันดับและปริมาณอาหารของแย้ผีเสื้อ จากการวิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้วิธี Kruskall-Wallis Test พบว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนรูแย้ที่ใช้จริง ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.005) โดยพบว่าที่หาดเทียน หาดหน้าบ้าน และหาดลูกลม มีค่าเฉลี่ยของจำนวนรูที่ใช้จริงเท่ากับ 2.4, 1.4 และ 1.2 รู (ต่อ 70 ตารางเมตร) ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยทางกายภาพใน 3 พื้นที่พบว่า เปอร์เซ็นต์การปกคลุมของหญ้า ความสูงของหญ้า ความชื้นในดิน อุณหภูมิอากาศ และความชื้นสัมพัทธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.044) และเมื่อทำการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยวิธี Spearman’s Rank Correlation พบความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิอากาศ (r = 0.25) ความชื้นสัมพัทธ์ (r = - 0.46) และปริมาณของแมลงหน้าดิน (r = - 0.32) กับจำนวนรูแย้ที่ใช้จริง จากการวิเคราะห์ค่า Shannon-Weiner Index ของแมลงใน 3 พื้นที่ศึกษาพบว่า หาดลูกลมมีความหลากหลายของแมลงสูงที่สุด (H’ = 1.02) ในขณะที่ผลของการวิเคราะห์ค่า Simpson’s Diversity Index พบว่าหาดหน้าบ้านมีค่าสูงที่สุด (C = 0.55) และมีแมลงอันดับที่เด่น คือ Orthoptera, Hymenoptera และ Coleoptera ซึ่งคาดว่าเป็น 3 อันดับที่แย้เลือกกินมากที่สุด ทั้งนี้ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แย้เพื่อการอนุรักษ์ได้ en_US
dc.description.abstractalternative The common butterfly lizard, Leiolepis belliana, is an agamid lizard, which plays important roles in the ecosystem. At present, the number of common butterfly lizard in the wild has markedly declined as the results of habitat destruction and hunting. Thus, conservation measures are urgently needed. However, there is a lack of information regarding the ecological factors, which affect the survival of the common butterfly lizard. The aims of this study are to examine the physical and biological factors involving in burrowing site selection in L. belliana at 3 study sites (Look Lom Beach, Tien Beach, and Na Baan Beach) on Samae San Island, Chon Buri Province. At each study site, a permanent sampling plot (7 m x 10 m) was established. Samplings were conducted every 2 months form July 2018 to March 2019. Physical and biological factors, namely percent coverage of grass, grass height, soil pH, soil texture, soil moisture, air temperature, relative humidity, and food abundance were examined. The results of Kruskall-Wallis Test revealed significant differences (p = 0.005) in the average numbers of active burrows between Tien Beach (2.4burrows), Na Baan Beach (1.4 burrow), and Look Lom Beach (1.2 burrows). In addition, significant differences in the percent coverage of grass, grass height, soil moisture, air temperature, and relative humidity were observed between the 3 study sites (p ≤ 0.044). The Spearman's Rank Correlation analyses revealed correlations between the average numbers of active burrows and air temperature (r = 0.25), relative humidity (r = -0.46) and benthic fauna (r = -0.32) . The Shannon-Weiner Indices revealed highest diversity of insects at Look Lom Beach (H '= 1.02) while the Simpson's Diversity Indices revealed highest diversity at Na Baan Beach (C = 0.55), where the dominant insect orders were Orthoptera, Hymenoptera, and Coleoptera. These possibly represent the preferred food items of the common butterfly lizard. The data obtained from this study can be applied in captive breeding programs for future conservation purposes. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่ส่งผลต่อการเลือกบริเวณขุดรูของแย้ผีเสื้อ Leiolepis belliana (Hardwicke and Gray, 1827) บนเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี en_US
dc.title.alternative Ecological factors affecting burrowing site selection in the common butterfly lizard Leiolepis belliana (Hardwicke and Gray, 1827) on Samae San Island, Chon Buri Province en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Nontivich.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record