Abstract:
การศึกษาการควบรวมกิจการกันระหว่างบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ 2 รายในอุตสาหกรรมเหล็กเส้น พบว่า การควบรวมกิจการจะทำให้ต้นทุนคงที่จะลดลงเป็นจำนวนสูงถึง2,497,314,235.64 บาท ส่วนต้นทุนแปรผันจะลดลงจากเดิมประมาณ 6.2% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าโดยรวมเท่ากับ 408,026,220 บาท นอกจากนี้การควบรวมกิจการจะทำให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้น กล่าวคือ การควบรวมกิจการจะทำให้บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin) เป็นบวกและมีค่าเท่ากับ 0.56% ในขณะที่ในช่วงปี พ.ศ. 2542 บริษัทเอ็น.ที.เอส สตีลกรุ๊ป และบริษัทในกลุ่มปูนซีเมนต์ไทย (ประกอบด้วย บริษัทเหล็กสยาม และบริษัทเหล็กก่อสร้างสยาม ) มีผลการดำเนินงานที่ทำให้อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายมีค่าติดลบ โดยอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายของบริษัทเอ็น.ที.เอส สตีล กรุ๊ป มีค่าเท่ากับ -692.61% ส่วนอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายของบริษัทเหล็กสยาม และบริษัทเหล็กก่อสร้างสยาม มีค่าเท่ากับ -25.63% และ -8.97% ตามลำดับ และการควบรวมกิจการจะทำให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (Return on Total Asset: R.O.A. or Return on Investment: R.O.I.) ของบริษัทมค่าเท่ากับ 0.22% ในขณะที่ในช่วง ปี พ.ศ. 2542 บริษัทเอ็น.ที. เอส สตีลกรุ๊ป มีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเท่ากับ -58.61% ส่วนอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทเหล็กสยาม และบริษัทเหล็กก่อสร้างสยาม มีค่าเท่ากับ -22.14% และ -7.33% ตามลำดับ ส่วนการศึกษาในส่วนของระดับปริมาณการผลิตที่เหมาะสมที่บริษัทควรทำการผลิต จะได้ว่าภายหลังการควบรวมกิจการบริษัทควรทำการผลิตเหล็กเน้น 475,035 ตัน เหล็กลวด (เหล็กลวดคาร์บอนสูงและเหล็กลวดคาร์บอนตํ่า ) 264,000 ตัน เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 80,871 ตัน และเหล็กเพลา 26,158 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณการผลิตที่สอดคล้องปริมาณความต้องการในตลาด และเป็นปริมาณการผลิตที่ไม่ตํ่ากว่าระดับปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุน