dc.contributor.advisor |
ชลัยพร อมรวัฒนา |
|
dc.contributor.author |
จรรยาพร จตุรงค์พลาธิปัต |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-03-17T03:51:44Z |
|
dc.date.available |
2020-03-17T03:51:44Z |
|
dc.date.issued |
2543 |
|
dc.identifier.isbn |
9741301782 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64365 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาการควบรวมกิจการกันระหว่างบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ 2 รายในอุตสาหกรรมเหล็กเส้น พบว่า การควบรวมกิจการจะทำให้ต้นทุนคงที่จะลดลงเป็นจำนวนสูงถึง2,497,314,235.64 บาท ส่วนต้นทุนแปรผันจะลดลงจากเดิมประมาณ 6.2% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าโดยรวมเท่ากับ 408,026,220 บาท นอกจากนี้การควบรวมกิจการจะทำให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้น กล่าวคือ การควบรวมกิจการจะทำให้บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin) เป็นบวกและมีค่าเท่ากับ 0.56% ในขณะที่ในช่วงปี พ.ศ. 2542 บริษัทเอ็น.ที.เอส สตีลกรุ๊ป และบริษัทในกลุ่มปูนซีเมนต์ไทย (ประกอบด้วย บริษัทเหล็กสยาม และบริษัทเหล็กก่อสร้างสยาม ) มีผลการดำเนินงานที่ทำให้อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายมีค่าติดลบ โดยอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายของบริษัทเอ็น.ที.เอส สตีล กรุ๊ป มีค่าเท่ากับ -692.61% ส่วนอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายของบริษัทเหล็กสยาม และบริษัทเหล็กก่อสร้างสยาม มีค่าเท่ากับ -25.63% และ -8.97% ตามลำดับ และการควบรวมกิจการจะทำให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (Return on Total Asset: R.O.A. or Return on Investment: R.O.I.) ของบริษัทมค่าเท่ากับ 0.22% ในขณะที่ในช่วง ปี พ.ศ. 2542 บริษัทเอ็น.ที. เอส สตีลกรุ๊ป มีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเท่ากับ -58.61% ส่วนอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทเหล็กสยาม และบริษัทเหล็กก่อสร้างสยาม มีค่าเท่ากับ -22.14% และ -7.33% ตามลำดับ ส่วนการศึกษาในส่วนของระดับปริมาณการผลิตที่เหมาะสมที่บริษัทควรทำการผลิต จะได้ว่าภายหลังการควบรวมกิจการบริษัทควรทำการผลิตเหล็กเน้น 475,035 ตัน เหล็กลวด (เหล็กลวดคาร์บอนสูงและเหล็กลวดคาร์บอนตํ่า ) 264,000 ตัน เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 80,871 ตัน และเหล็กเพลา 26,158 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณการผลิตที่สอดคล้องปริมาณความต้องการในตลาด และเป็นปริมาณการผลิตที่ไม่ตํ่ากว่าระดับปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุน |
|
dc.description.abstractalternative |
A Study of Mergers of the Two Largest Companies in the Bars steel Industry found that the merging will decrease fixed cost in the amount of 2,497,314,235.64 Baht and variable cost about 6.2% or 408,026,220 Baht. Furthermore, merging will improve the operating efficiency of the companies. In other words, merging will create position Net Profit Margin which is 0.56%. Comparing the operation in 1999, The N.T.S steel Group and The Siam Cement Group (consisting of The Siam steel and Iron Company and The Siam Constructing steel Company) had the negative Net Profit Margin ; N.T.S Steel Company was -692.61%, Siam Steel and Iron Company was -25.63% and Siam Constructing steel Company was -8.97%. Merging will improve the R.o.l. (Return on Total Asset : R.O.A. or Return on Investment) to be 0.22%. Comparing the operation in 1999, the R.o.l. of N.T.S Steel Group, The Siam steel and Iron Company and The Siam Constructing steel Company were -58.61%, -22.14% and -7.33% correspondingly. From this study, the optimum production quantity after merging should be 475,035 tons of the bar steel, 264,000 tons of the wire rod (high carbon and low carbon wire rod), 80,871 tons of the section steel and 26,158 tons of the p.c. steel. This production quantities will be compatible to the market's demand and not lower than the break-even point. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การรวมกิจการ |
|
dc.subject |
อุตสาหกรรมเหล็กเส้น |
|
dc.subject |
เหล็กเส้น |
|
dc.title |
การศึกษาการควบรวมกิจการของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ 2 ราย ในอุตสาหกรรมเหล็กเส้น |
|
dc.title.alternative |
A study of mergers of the two largest companies in the bars steel industry |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|