Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความ ฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนในวัยรุ่นย่างเข้าสู่วัยรุ่นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูในรูปแบบที่แตกต่างกันตามการรับรู้ของตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 ในโรงเรียนสหศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 แบบ คือ แบบสำรวจการอบรมเลี้ยงดู แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ และแบบวัดความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ทดสอบรายคู่ด้วยวิธีตูกีและการหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย 1. เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบ ดูแลเอาใจใส่มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุม การอบรมเลี้ยงดูแบบรักตามใจ และการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความแตกต่างระหว่างเพศไม่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ 3. คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กมีความสัมพันธ์กับคะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กที่ประเมินโดยครูประจำชั้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01