dc.contributor.advisor | พงษ์ ทรงพงษ์ | |
dc.contributor.author | ธนากร มาลาวัลย์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-03-24T08:18:28Z | |
dc.date.available | 2020-03-24T08:18:28Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64418 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | โครงงานนี้เป็นการคำนวณพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกลงบนแผงโซลาร์เซลล์ ณ ตำแหน่งที่สนใจ โดยใช้ ข้อมูลตัวแปรความเข้มแสงตรง (DNR) จากเว็บไซต์ www.power.larc.nasa.gov ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจากดาวเทียมองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ไว้มากกว่า 20 ปี แต่เนื่องจากข้อมูลของตัวแปร DNR เป็นค่าความเข้มแสงตรงที่ตกตั้งฉากตลอดเวลา จึงต้องทำการแปลงค่าความเข้มแสงตรงจากเว็บไซต์ของนาซาที่ได้ ให้สอดคล้องกับค่าพลังงานที่แผงโซลาร์เซลล์ได้รับในแต่ละวัน โดยคำนวณค่าความเข้มแสงตรงทางทฤษฎีในทุก ๆ ชั่วโมงของแต่ละวันเพื่อคำนวณพลังงานที่ได้ โดยมีขั้นตอนการทำงานคือ ผู้ใช้งาน ใส่พิกัด ภูมิศาสตร์คือค่าละติจูด และลองจิจูด ใส่มุมเอียงของแผงโซลาร์เซลล์ และใส่มุมที่ทิศของแผงโซลาร์เซลล์ทำกับทิศเหนือเข้าไปในโปรแกรมเพื่อคำนวณเป็นค่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนแผงโซลาร์เซลล์ ณ ตำแหน่งที่สนใจ ผลการทดสอบการใช้งานโปรแกรมในกรณีศึกษาพบว่า จังหวัดอุบลราชธานี ที่มุมเอียงแผงโซลาร์เซลล์ 20 องศา จะทำให้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดอยู่ที่ 3.56 kW . ℎr/m²/day, เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ที่มุมเอียงแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 45-50 องศา จะทำให้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดอยู่ที่ 2.04 kW . ℎr/m²/day, เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ที่มุมเอียงของแผงโซลาร์เซลล์ 45 องศา จะทำให้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดอยู่ที่ 2.94 kW . ℎr/m²/day สำหรับพื้นที่ในประเทศไทยที่มีศักยภาพการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ โดยมีการกำหนดเงื่อนไขให้ทิศของแผงโซลาร์เซลล์หันไปทางทิศใต้ พบว่าบริเวณพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีศักยภาพสูงสุดในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ โดยที่มุมเอียงแผงโซลาร์เซลล์ 15 องศา จะทำให้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดอยู่ที่ 3.55 kW . ℎr/m²/day และในกรณีศึกษาต้องการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาสนามราชมังคลากีฬาสถาน โดยหันหน้าแผงไปทางทิศใต้ พบว่าที่มุมเอียงของแผงประมาณ 15 องศา จะทำให้แผงโซลาร์เซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดอยู่ที่ 3.41 kW . ℎr/m²/day. | en_US |
dc.description.abstractalternative | A program that calculates solar energy budget at any location on earth was developed. The program uses Direct Normal Radiation (DNR) obtain from NASA’s website (www.power.larc.nasa.gov) in which database the solar radiation data were collected for more than 20 years. The DNR was then converted to solar energy received by a solar panel with a desired direction. The energy budget is calculated based on theoretical sun position, the panel direction with respect to north pole, and panel tilt angle. The program uses latitude, longitude, tilt angle and azimuth of panel from user to calculate solar energy at any location that user are interested. The results of the program testing for case study found that in Ubon Ratchathani the angle of the solar panel 20 degrees, causing the maximum solar panel is 3.56 kW . ℎr/m²/day, At the Oslo, Norway the angle of solar panel 45-50 degrees, causing the maximum solar panel is 2.04 kW . ℎr/m²/day, At the Christchurch, New Zealand the angle of solar panel 45 degree, causing the maximum solar panel is 2.94 kW . ℎr/m²/day. For areas in Thailand that have the potential to use efficient solar panels we found that in the area of Prachuap-Khirikhan province has the highest potential for using solar panels at angle of solar panel 15 degrees, causing the maximum solar panel is 3.55 kW . ℎr/m²/day. Fanally, in case study if user want to install solar panels on the roof of Rajamangala National Stadium at the angle of solar panel 15-20 degrees, causing the solar panel to receive maximum solar energy is 3.41 kW . ℎr/m²/day. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | โปรแกรมคำนวณพลังงานแสงอาทิตย์ ณ ตำแหน่งใด ๆ โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมจากนาซา | en_US |
dc.title.alternative | Solar energy budget calculation at any location using NASA satellite data program | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Pong.S@Chula.ac.th |