Abstract:
ในโครงงานชิ้นนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อพิจารณาลักษณะของการกระจายรายได้ รายจ่ายและความมั่งคั่งของครัวเรือนในประเทศไทยโดยการเปรียบเทียบระบบทางเศรษฐกิจของไทย กับอนุภาคในระบบปิดโดยใช้ฟิสิกส์สถิติในการสร้างแบบจำลอง ได้แก่ การกระจายแบบโบสต์มาน –กิบบ์ (Boltzmann – Gibbs distribution) การกระจายแบบโบสต์ – ไอนสไตน์ (Bose – Einstein distribution) การกระจายแบบเฟอร์มิ – ดิเร็ก (Fermi – Dirac distribution) และนำแบบจำลองดังกล่าวมาใช้ร่วมกับการกระจายแบบ พาเรโต (Pareto distribution) ชนิดที่ 1 จากผลของการทดลองพบว่า แบบจำลองที่เหมาะสมกับการกระจายรายได้ของครัวเรือนสะสมมากที่สุด คือ การกระจายแบบโบสต์ – ไอนสไตน์ และ เฟอร์มิ – ดิเร็ก แบบจำลองที่เหมาะสมกับการการกระจายรายจ่ายของครัวเรือนสะสมมากที่สุด คือ การกระจายแบบโบสต์ – ไอนสไตน์ และแบบจำลองการกระจายความมั่งคั่งของครัวเรือนสะสมมากที่สุด คือ แบบจำลองการกระจายแบบเฟอร์มิ – ดิเร็กและเมื่อพิจารณาข้อมูลการกระจายรายได้ของกลุ่มครัวเรือนจะสามารถแบ่งกลุ่มของครัวเรือนออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อแบ่งกลุ่มของครัวเรือนที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดได้โดยใช้จุดตัดระหว่างแบบจำลองเฟอร์มิ – ดิเร็กกับแบบจำลองโบสต์มาน – กิบส์ เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มครัวเรือนรายได้ต่ำกับกลุ่มครัวเรือนรายได้ปานกลางออกจากกัน และใช้จุดตัดระหว่างแบบจำลองโบสต์มาน-กิบส์ กับแบบจำลองพาเรโตเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มของครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางกับกลุ่มของครัวเรือนที่มีรายได้สูงออกจากกัน