Abstract:
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการสอนแบบ 4 แมท และความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลระหว่างกลุ่มที่สอนแบบ 4 แมท กับกลุ่มที่สอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 44 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายและแบ่งกลุ่มด้วยวิธีการจับคู่ได้กลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการสอนแบบ 4 แมท จำนวน 4 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบอัตนัยประยุกต์ (Modified Essay Questions ะ MEQ) วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาล ที่ผู้วิจัยสร้าง ชั้น ตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ 0.816 ดัชนีความยากง่ายเท่ากับ 0.55 และค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบ 4 แมท หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบ 4 แมท สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05