Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้ มิวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลงของความหมายของมิคสัญญีและแก่นที่มีร่วมกันของมิคสัญญีจากจักกวัตติสูตรในพระไตรปิฎก คัมภีร์โลกบัญญัติ คัมภีร์พระอนาคตวงศ์และคัมภีร์สังคีติยวงศในฐานะเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาแนวคิดเรื่องมิคสัญญี อันจะนำมาซึ่งคำอธิบายเกี่ยว กับการใช้ประโยชน์ทางการเมืองของแนวคิดเรื่องมิคสัญญี และนำไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายของการเมืองในบริบทที่มีการใช้แนวคิดเรื่องมิคสัญญี แต่มิได้มิความมุ่งหมายที่จะตอบคำถามว่า แนวคิดเรื่องมิคสัญญีนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใด เสื่อมคลายลงเมื่อใด และอย่างไร ในการศึกษา ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมิคสัญญีจากประชำกรในการศึกษา นั่นคือจักกวัตติสูตรในพระไตรปิฎก คัมภีร์โลกบัญญัติ คัมภีร์พระอนาคตวงศ์ และคัมภีร์สังคีติยวงศ์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาผ่านกระบวนการวิจัยเอกสาร (documentary research) โดยเน้นไปที่การตีความข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบทอย่างละเอียด (close textual analysis) แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบสิ่งที่ได้จากการตีความตัวบทที่เกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์ในการศึกษา ผลจากการศึกษา ปรากฏว่า แนวคิดเรื่องมิคสัญญีในตัวบทของคัมภีร์ทั้งสี่ มีพัฒนาการในลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น แต่ยังคงไว้ซึ่งแก่นของความหมายที่มีอยู่ร่วมกันอันเป็นสารัตถะของแนวคิดอย่างแน่นหนา นั่นคือ มิคสัญญี เป็นแนวคิดว่าด้วยความเสื่อมถอยของมนุษย์ และสังคมอันมีสาเหตุมาจากการประพฤติผิดทำนองคลองธรรมของตัวมนุษย์เอง โดยมีลักษณะของการแสดงออกด้วยการฆ่าหมู่ซึ่งกันและกัน โดยไม่เห็นแก่ความเป็นมนุษย์ภายใต้สภาวะอนาธิปัตย์อย่างสมบูรณ์แบบจนมีผู้คนล้มตายเป็นเบือ สำหรับความหมายของการเมืองในบริบทที่มิการใช้แนวคิดเรื่องมิคสัญญีนั้น พบว่ามิความหมายสอดคล้องต้องกับคำนิยาม “การเมือง” ของ Leo Strauss และ David Easton โดยความหมายแรกมีขอบข่ายการอธิบายการเมืองในบริบทที่มิการใช้แนวคิดเรื่องมิคสัญญีกว้างขวางและครอบคลุมเหนือขอบข่ายการอธิบายของ ความหมายที่สอง ส่วนคำอธิบายเกี่ยวกับการนำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองของแนวคิดเรื่องมิคสัญญีนั้น สามารถสรุปอย่างสั้นๆ แต่มีความหมายได้ว่า แนวคิดเรื่องมิคสัญญีเป็นประโยชน์กับทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายต่อต้าน ดังจะเห็นได้จากการที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการนำเอาแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ไห้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายตนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางการเมือง ในเวทีปะทะต่อรองทางอำนาจ