dc.contributor.advisor |
ไชยันต์ ไชยพร |
|
dc.contributor.advisor |
วีระ สมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
รุจภัทร ฐอสุวรรณ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-03-27T09:23:50Z |
|
dc.date.available |
2020-03-27T09:23:50Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.isbn |
9741703417 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64467 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์นี้ มิวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลงของความหมายของมิคสัญญีและแก่นที่มีร่วมกันของมิคสัญญีจากจักกวัตติสูตรในพระไตรปิฎก คัมภีร์โลกบัญญัติ คัมภีร์พระอนาคตวงศ์และคัมภีร์สังคีติยวงศในฐานะเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาแนวคิดเรื่องมิคสัญญี อันจะนำมาซึ่งคำอธิบายเกี่ยว กับการใช้ประโยชน์ทางการเมืองของแนวคิดเรื่องมิคสัญญี และนำไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายของการเมืองในบริบทที่มีการใช้แนวคิดเรื่องมิคสัญญี แต่มิได้มิความมุ่งหมายที่จะตอบคำถามว่า แนวคิดเรื่องมิคสัญญีนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใด เสื่อมคลายลงเมื่อใด และอย่างไร ในการศึกษา ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมิคสัญญีจากประชำกรในการศึกษา นั่นคือจักกวัตติสูตรในพระไตรปิฎก คัมภีร์โลกบัญญัติ คัมภีร์พระอนาคตวงศ์ และคัมภีร์สังคีติยวงศ์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาผ่านกระบวนการวิจัยเอกสาร (documentary research) โดยเน้นไปที่การตีความข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบทอย่างละเอียด (close textual analysis) แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบสิ่งที่ได้จากการตีความตัวบทที่เกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์ในการศึกษา ผลจากการศึกษา ปรากฏว่า แนวคิดเรื่องมิคสัญญีในตัวบทของคัมภีร์ทั้งสี่ มีพัฒนาการในลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น แต่ยังคงไว้ซึ่งแก่นของความหมายที่มีอยู่ร่วมกันอันเป็นสารัตถะของแนวคิดอย่างแน่นหนา นั่นคือ มิคสัญญี เป็นแนวคิดว่าด้วยความเสื่อมถอยของมนุษย์ และสังคมอันมีสาเหตุมาจากการประพฤติผิดทำนองคลองธรรมของตัวมนุษย์เอง โดยมีลักษณะของการแสดงออกด้วยการฆ่าหมู่ซึ่งกันและกัน โดยไม่เห็นแก่ความเป็นมนุษย์ภายใต้สภาวะอนาธิปัตย์อย่างสมบูรณ์แบบจนมีผู้คนล้มตายเป็นเบือ สำหรับความหมายของการเมืองในบริบทที่มิการใช้แนวคิดเรื่องมิคสัญญีนั้น พบว่ามิความหมายสอดคล้องต้องกับคำนิยาม “การเมือง” ของ Leo Strauss และ David Easton โดยความหมายแรกมีขอบข่ายการอธิบายการเมืองในบริบทที่มิการใช้แนวคิดเรื่องมิคสัญญีกว้างขวางและครอบคลุมเหนือขอบข่ายการอธิบายของ ความหมายที่สอง ส่วนคำอธิบายเกี่ยวกับการนำไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองของแนวคิดเรื่องมิคสัญญีนั้น สามารถสรุปอย่างสั้นๆ แต่มีความหมายได้ว่า แนวคิดเรื่องมิคสัญญีเป็นประโยชน์กับทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายต่อต้าน ดังจะเห็นได้จากการที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการนำเอาแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ไห้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายตนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางการเมือง ในเวทีปะทะต่อรองทางอำนาจ |
|
dc.description.abstractalternative |
The thesis aims, to study the development of the meaning of MIGASANNI from ancient scriptures in Buddhism as an elementary study to investigate the political utilization and the meaning of politics derived from the above-mentioned texts. However the thesis doesn’t mean to answer the question concerning when and how the term originates. Regarding research methodology, the author takes documentary research and close textual analysis. The findings of thesis are as follows: 1. All studied texts differs in some points but they have common essence of “MIGASANNI”; the declining of human beings and society due to the wrong doings. The state of “MIGASANNI” is characterized by the brutal massacre under the state of absolute anarchy. 2. The thesis finds that the meaning of the term is in accordance with the definition of "politics" given by Leo Strauss and David Easton. The Strauss’s definition also overarches Easton’s. 3. For political utilization of the term, both political regime and its opposition apply the meaning of the term for their own benefits in the realm of power seeking. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
กลียุค |
|
dc.subject |
พุทธศาสนา -- คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
dc.subject |
สันติภาพ |
|
dc.subject |
ไทย -- การเมืองและการปกครอง |
|
dc.subject |
ไทย -- ภาวะสังคม |
|
dc.subject |
Buddhism -- Sacred books |
|
dc.subject |
Peace |
|
dc.subject |
Thailand -- Politics and government |
|
dc.subject |
Thailand -- Social conditions |
|
dc.title |
แนวคิดเรื่องมิคสัญญี : ศึกษาจากคัมภีร์โบราณทางพุทธศาสนาในฐานะเป็นจุดเริ่มต้น |
en_US |
dc.title.alternative |
Ideas of Migasanni : a study on ancient scriptures in Buddhism |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การปกครอง |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |