dc.contributor.advisor |
เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา |
|
dc.contributor.advisor |
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง |
|
dc.contributor.author |
ลิตติพร ลิตติพานิช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-03-27T15:38:32Z |
|
dc.date.available |
2020-03-27T15:38:32Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.isbn |
9740301967 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64479 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
en_US |
dc.description.abstract |
บรรจุภัณฑ์อาหารเกษตรแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในประเทศไทย ปัจจุบันประสบปัญหาที่รูปแบบไม่ตอบสนองวัตถุประสงค์ทางการตลาดซึ่งช่วยให้สินค้าขายได้ และขาดเอกลักษณ์ที่แสองภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิจัยจึงมุ่งเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับแนวทางการใช้เรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่นของประเทศไทย และเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด โดยการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างบรรจุภัณฑ์อาหารเกษตรแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 24 ชิ้น และของผู้ผลิตระบบอุตสาหกรรม 29 ชิ้น โดยใช้ทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์บนบรรจุภัณฑ์จำแนกองค์ประกอบออกเป็นภาพสี ตัวอักษร สัญลักษณ์ และการจัดวาง หลักเกษณ์ที่ใช้วิเคราะห์คือทฤษฎีคุณสมบัติเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การตลาดได้จากผู้เชี่ยวชาญการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาวไทย 4 ท่าน และชาวต่างประเทศ 2 ท่าน หลักการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่นของประเทศไทย ได้จากการนำทฤษฎีของประเทศญี่ปุ่นที่ถือว่าประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับระดับสากลด้านการแสดงภาพลักษณ์ถิ่นบนบรรจุภัณฑ์เป็นแนวทาง เทียบเคียงวิธีการให้เข้ากับเอกลักษณ์ด้านต่าง ๆ ของไทย ที่คาดว่าจะใช้เป็นที่มาของรูปแบบเรขศิลป์อันแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่นของประเทศไทยเช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นทำมาแล้ว ทฤษฎีทั้ง 2 ได้รับการยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใสถาบันอุดมศึกษาของไทย ผลการวิเคราะห์พบว่ามีการใช้องค์ประกอบศิลป์เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การตลาดดังนี้ การบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์ใช้ภาพและสีของสินค้าหรือวัตถุดิบ การบ่งชี้ผู้ผลิตหรือตราสินค้าใช้ตัวอักษรแสดงตราสินค้าและผู้ผลิต การแสดงบุคลิกของสินค้าใช้ภาพและสี การแสดงคุณประโยชน์ของสินค้าใช้ตัวอักษรแสดงคำโฆษณาชวนเชื่อ การดึงดูดความสนใจใช้สีสดตัดกันและภาพขนาดใหญ่ การส่งเสริมการโฆษณาใช้สัญลักษณ์ตรารับรองและเปรียญรางวัล การอำนวยความสะดวกใช้รหัสแท่งและตารางโภชนาการ การคงรักษาเอกลักษณ์ในเครือผู้ผลิตเดียวกันใช้การจัดวางเป็นชุดเดียวกัน ผลการวิเคราะห์การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์กลุ่มตัวอย่างเพื่อแสดงภาพลักษณ์พื้นถิ่นของไทย พบวิธีที่ตรงกับหลักการเบื้องต้น ได้แก่ การใช้คู่สีและตัวอักษรแบบดั้งเดิม การจัดวางแบบสมมาตรและแบบซ้ำ วิธีที่ตรงกับหลักการแต่ไม่ปรากฏมีการใช้ได้แก่ การใช้ภาพเลียนกรรมวิธีการบรรจุแบบดั้งเดิม และเลียนพื้นผิวของวัสดุธรรมชาติ การใช้วัสดุธรรมชาติประกอบ และใช้สีแบบเบญจรงค์ รวมทั้งยังค้นพบวิธีการใหม่ของไทยเองได้แก่ การใช้ภาพลวดลายจิตรกรรมไทยภาพชาวบ้านแต่งกายชุดพื้นเมือง ภาพสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น และการใช้ตัวอักษรร่วมสมัยที่แสดงความเป็นไทยและสอดคล้องกับองค์ประกอบอื่น ๆ |
|
dc.description.abstractalternative |
At present, the designs of processed food packaging of farm women groups in Thailand are not complying with marketing objectives and are not express in the uniqueness of local wisdom. The primary objective of this research was to devise solutions to such problems. It used 24 samples of processed food packaging from farm women groups and 29 items of competitive factory products. Analysis employed design principles in an attempt to group products into categories of (1) image, (2) color, (3) typography, (4) symbol, and (5) composition. Criteria for good packaging design were established by four Thai and two foreign experts. And criteria for expressing the uniqueness for local wisdom were adapted from intemationally recognized Japanese folk style. These two concepts were supported by four university lecturers who are experts in packaging design. Findings on good design for processed food packaging were (1) use image and colors of product to indicate product type; (2) use typography to present brand and manufactures; (3) use image and colors to represent personality; (4) use sentences (or letters) in adivisement to show the usefulness of the product; (5) use bright colors and large image for attraction; (6) use logo and award for promotion; (7) use barcodes and nutrition facts to facilitate the use product; (8) use the same design composition to maintain the uniqueness of the several products within the same manufacturer. Findings on Thai folk style were (1) use traditional typography and color scheme; (2) use symmetrical balance and repetition. Findings also indicated the following but no empirical evidence found were (1) use image to imitated shape and texture of traditional packaging; (2) use natural material to supplement packaging; (3) use Thai traditional “Benjarong” colors; (4) use Thai traditional painting; (5) use Thai figures in traditional costume or Thai architecture; and (6) use Thai contemporary typography. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การออกแบบกราฟิก |
|
dc.subject |
บรรจุภัณฑ์ -- การออกแบบ |
|
dc.subject |
อาหารแปรรูป |
|
dc.subject |
Graphic design |
|
dc.subject |
Containers -- Design |
|
dc.title |
การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์อาหารเกษตรแปรรูป ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในประเทศไทย |
en_US |
dc.title.alternative |
Graphic design on processed food packaging of farm women groups in Thailand |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
นฤมิตศิลป์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Ua-endoo.D@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Pornsanong.V@Chula.ac.th |
|