dc.contributor.advisor |
นวลน้อย ตรีรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
นพฤทธิ์ อนันอภิบุตร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-03-29T08:23:42Z |
|
dc.date.available |
2020-03-29T08:23:42Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.isbn |
9740308244 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64509 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งนำเสนอบทวิเคราะห์กระบวนการอนุมัติงบประมาณในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งไม่เป็นที่รู้กันแพร่หลายทั่วไปนัก โดยอาศัยระบบการวิเคราะห์พฤติกรรมทางการเมืองของสำนักเศรษฐศาสตร์ทางเลือกสาธารณะ (Public Choice) และแนวคิดของสำนักเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ (New Institutional Economics) โดยเน้นศึกษาการอนุมัติงบประมาณในฐานะที่เป็นตลาดการเมือง (Political Market) ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติขายสิทธิในการเบิกเงินจากบัญชีเงินคงคลังให้แก่ฝ่ายบริหาร พร้อมกับการศึกษาถึง "สถาบัน'’ ที่ดำรงอยู่ภายในกระบวนการนิติบัญญัติในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรมการทำหน้าที่ของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ผลการศึกษาพบว่า ตลาดการอนุมัติงบประมาณเป็นตลาดซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละครทางการเมืองต่างๆ โดยมีกรรมาธิการงบประมาณฯ เป็นผู้เล่นที่สำคัญ ซึ่งกรรมาธิการฯ จะทำการแลกเปลี่ยนเสียงกับตัวละคร อื่นๆ เพื่อปกป้องและผันงบประมาณลงไปยังเขตเลือกตั้งของตน โดยที่การอนุมัติงบประมาณในสภาผู้แทนราษฎรแทบจะมิได้ยึดบรรทัดฐานในการจัดสรรงบประมาณบนพื้นฐานของมิติทางวิชาการ หลักการ หรือเทคนิคใน เรื่องงบประมาณใดๆ เลย หากแต่เป็นกระบวนการที่วางอยู่บนพื้นฐานของการต่อรองและประสานผลประโยชน์ระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคลต่างๆ เป็นสำคัญ ลักษณะตังกล่าวมิใช่ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการอนุมัติงบประมาณเพียงด้านเดียว แต่เป็นผลสืบเนื่องจากความบกพร่องหละหลวมของกระบวนการงบประมาณไทยทั้งในขั้นการจัดทำและการบริหารงบประมาณประกอบกับกรอบทางสถาบัน (Institutional Framework) ซึ่งทำให้ตลาดการอนุมัติงบประมาณไม่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมเนียมปฏิบัติที่ส่งเสริมให้เกิดไร้สมมาตรของสารสนเทศ (Asymmetric Information) อันถือเป็นลักษณะเด่นของตลาดการอนุมัติงบประมาณไทย โดยความไร้สมมาตรที่สำคัญมี 2 ระดับ คือ ระดับแรก ฝ่ายบริหารผูกขาดสารสนเทศไว้ในระบบราชการ ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ได้เพียงเล็กน้อย ระดับที่สอง ฝ่ายนิติบัญญัติกีดกันมิให้ประชาชนเข้ามารับทราบถึงการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมาธิการฯ ได้ ดังนั้นฝ่ายนิติบัญญัติจึงสามารถมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไป ในส่วนของสถาบันที่เป็นทางการได้มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาช้านานในทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่จำกัดสิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติมีให้สามารถเข้ามามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงงบประมาณได้มากนัก อันมีเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังมาจากความไม่ไว้วางใจในพฤติกรรมของ ส.ส. จึงมีสถาบันที่เป็นทางการมากมายเกิดกระบวนการรัฐธรรมนูญานุวัตร (Constitutionalization) เพราะเกรงว่า ส.ส. จะแก้ไขกฎต่างๆ ในทางที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis aims to analyse the budgetary decision process in the house of representatives, which is not informed broadly to people, using political behavior analytic system from Public Choice school of Economics and conceptual sceme from New Institutional Economics. Thus, the study focuses on the budgetary decision in the framework of political market, where the legislation sells rights to withdraw money from treasury reserves account to the administration, together with the existing “institution” which plays a key role in shaping representatives behavior. The study found that the budgetary decision process is the interaction among political actors which perform distinguishly by budget scrutiny committee who always exchange their vote to maintain and increase the budget to their constituency. In brief, the budgetary decision process employs budget technical knowledge and budget principles at the low level, but bases on negotiation for the benefit among actors However, the defect in budgetary decision process derived from the defects in budget preparation ana budget execution process. Institutional framework makes budgetary decision market compete imperfectly, especially the tradition that induces asymmetric information which is outstanding in Thai budgetary decision market. There are important asymmetric information on 2 levels. First, information is monopolized by the administration so it's difficult for the legislation to participate in budgetary decision process. Second, the legislation impedes the people participation by establishing rules that encourage mysterious process. Besides, the formal rules have gradually evolved on the direction that limits legislation’s rights to amend the Budget Act. Because of unreliable on the representatives behavior, many formal rules were organized into constitutionalization in order to prevent representatives to amend the rules for their own benefits. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
งบประมาณ |
|
dc.subject |
สภาผู้แทนราษฎร |
|
dc.subject |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- ไทย |
|
dc.subject |
Budget |
|
dc.subject |
Assembly of the people's representatives |
|
dc.subject |
Members of parliaments -- Thailand |
|
dc.title |
การวิเคราะห์กระบวนการงบประมาณแผ่นดินในสภาผู้แทนราษฎรของไทย |
en_US |
dc.title.alternative |
Analysis of budgetary process in the House of Representatives of Thailand |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |