Abstract:
ผิวหนังมีหน้าที่สำคัญในการรักษาอุณหภูมิและป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจุลินทรีย์ รุกราน อย่างไรก็ตามผิวหนังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ต่าง ๆ โดยสังคมจุลินทรีย์บนผิวสามารถ เปลี่ยนแปลงได้จากหลากหลายปัจจัย อาทิ อายุ เพศ อาหาร ภูมิอากาศ และพันธุกรรม ซึ่งการเสียสมดุลของ จุลินทรีย์บนผิวเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติบนผิวหนังและก่อให้เกิดโรคตามมา ปัจจุบันได้มีงานวิจัย รายงานว่าโพรไบโอติกส์สามารถส่งเสริมสุขภาพทางผิวหนัง เช่น ความสัมพันธ์ของโพรไบโอติกส์และการลด ระดับความรุนแรงลงของโรคภูมิแพ้ผิวหน้าจากการตอบสนองต่อ S. aureus ความสามารถของโพรไบโอติกส์ ในการควบคุมการเกิดสิว ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงศึกษาแบคทีเรียที่อยู่ในสปีชีส์ Lactobacillus casei, Lactobacillus salivarius, Lactobacillus rhamnosus, Lactobacillus plantarum และ Lactobacillus fermentum รวมทั้งสิ้น 20 สายพันธุ์ ซึ่งคัดแยกมาจากผิวหนังและน้ำนมแม่เพื่อนำมาพิสูจน์คุณสมบัติของ โพรไบโอติกส์ ได้แก่ ความสามารถในการทนกรด (pH 3) ทนน้ำดีและความสามารถในการเจริญที่สภาวะจริง บนผิวหนัง (pH 5) เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมงรวมทั้งศึกษาลักษณะทางสัณฐาน และเปรียบเทียบความสามารถ ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคและไม่ก่อโรคบนผิวหนัง ได้แก่ S. epidermidis, S. aureus และ Propionibacterium acne ที่ระดับความเข้มข้น 10⁹, 10⁸ และ10⁷ โคโลนีต่อมิลลิลิตรด้วยเทคนิค agar disc diffusion ผลการทดสอบการทนกรดพบว่า สายพันธุ์ทางคลินิก Lactobacillus casei NL 60 และสายพันธุ์ อ้างอิง Lactobacillus acidophilus มีความสามารถในการทนกรดที่ pH 3 มากที่สุด โดยมีอัตราอยู่รอด 95.27% และ 97.5% ตามลำดับ และ L. casei NL 60 และสายพันธุ์อ้างอิง L. casei มีอัตราการอยู่รอด จากการทนน้ำดี 88.57 และ 32.94 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่ามีอัตราการรอดในการทดสอบในการเจริญที่ สภาวะผิว (pH5) ที่ร้อยละ 83.94 – 107.17 ส่วนการทดสอบความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียพบว่า L. casei lac 44, L. rhamnosus lac 43 และ NL58 ที่ความเข้มข้น 10⁹ CFU/ml มีประสิทธิภาพในการ ยับยั้งการเจริญของ P. acne แต่ไม่ยับยั้ง S. epidermidis และ L. casei สายพันธุ์อ้างอิงสามารถยับยั้งได้ทั้ง S. aureus และ P. acne แต่ไม่ยับยั้ง S. epidermidis เช่นกัน ทั้งนี้การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย คาดว่าเป็นเพราะ กรดอินทรีย์ หรือ bacteriocins ที่โพรไบโอติกส์ผลิต อย่างไรก็ตามยังคงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม และศึกษา ความปลอดภัยต้อเซลล์ผิวหนัง เพื่ออนาคตอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการผิดปกติของผิวแทน การใช้ยาปฏิชีวนะ