Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64546
Title: | คุณสมบัติของโพรไบโอติกส์และการเปรียบเทียบความสามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคและไม่ก่อโรคทางผิวหนังระหว่างสายพันธุ์ทางคลินิกและโพรไบโอติกส์อ้างอิง |
Other Titles: | Examination of probiotic properties and comparison of skin anti-bacterial activities between clinical and reference probiotic isolates |
Authors: | ชลัญญา ภูมิภาค |
Advisors: | นราพร สมบูรณ์นะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Naraporn.S@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ผิวหนังมีหน้าที่สำคัญในการรักษาอุณหภูมิและป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจุลินทรีย์ รุกราน อย่างไรก็ตามผิวหนังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ต่าง ๆ โดยสังคมจุลินทรีย์บนผิวสามารถ เปลี่ยนแปลงได้จากหลากหลายปัจจัย อาทิ อายุ เพศ อาหาร ภูมิอากาศ และพันธุกรรม ซึ่งการเสียสมดุลของ จุลินทรีย์บนผิวเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติบนผิวหนังและก่อให้เกิดโรคตามมา ปัจจุบันได้มีงานวิจัย รายงานว่าโพรไบโอติกส์สามารถส่งเสริมสุขภาพทางผิวหนัง เช่น ความสัมพันธ์ของโพรไบโอติกส์และการลด ระดับความรุนแรงลงของโรคภูมิแพ้ผิวหน้าจากการตอบสนองต่อ S. aureus ความสามารถของโพรไบโอติกส์ ในการควบคุมการเกิดสิว ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงศึกษาแบคทีเรียที่อยู่ในสปีชีส์ Lactobacillus casei, Lactobacillus salivarius, Lactobacillus rhamnosus, Lactobacillus plantarum และ Lactobacillus fermentum รวมทั้งสิ้น 20 สายพันธุ์ ซึ่งคัดแยกมาจากผิวหนังและน้ำนมแม่เพื่อนำมาพิสูจน์คุณสมบัติของ โพรไบโอติกส์ ได้แก่ ความสามารถในการทนกรด (pH 3) ทนน้ำดีและความสามารถในการเจริญที่สภาวะจริง บนผิวหนัง (pH 5) เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมงรวมทั้งศึกษาลักษณะทางสัณฐาน และเปรียบเทียบความสามารถ ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคและไม่ก่อโรคบนผิวหนัง ได้แก่ S. epidermidis, S. aureus และ Propionibacterium acne ที่ระดับความเข้มข้น 10⁹, 10⁸ และ10⁷ โคโลนีต่อมิลลิลิตรด้วยเทคนิค agar disc diffusion ผลการทดสอบการทนกรดพบว่า สายพันธุ์ทางคลินิก Lactobacillus casei NL 60 และสายพันธุ์ อ้างอิง Lactobacillus acidophilus มีความสามารถในการทนกรดที่ pH 3 มากที่สุด โดยมีอัตราอยู่รอด 95.27% และ 97.5% ตามลำดับ และ L. casei NL 60 และสายพันธุ์อ้างอิง L. casei มีอัตราการอยู่รอด จากการทนน้ำดี 88.57 และ 32.94 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่ามีอัตราการรอดในการทดสอบในการเจริญที่ สภาวะผิว (pH5) ที่ร้อยละ 83.94 – 107.17 ส่วนการทดสอบความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียพบว่า L. casei lac 44, L. rhamnosus lac 43 และ NL58 ที่ความเข้มข้น 10⁹ CFU/ml มีประสิทธิภาพในการ ยับยั้งการเจริญของ P. acne แต่ไม่ยับยั้ง S. epidermidis และ L. casei สายพันธุ์อ้างอิงสามารถยับยั้งได้ทั้ง S. aureus และ P. acne แต่ไม่ยับยั้ง S. epidermidis เช่นกัน ทั้งนี้การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย คาดว่าเป็นเพราะ กรดอินทรีย์ หรือ bacteriocins ที่โพรไบโอติกส์ผลิต อย่างไรก็ตามยังคงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม และศึกษา ความปลอดภัยต้อเซลล์ผิวหนัง เพื่ออนาคตอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการผิดปกติของผิวแทน การใช้ยาปฏิชีวนะ |
Other Abstract: | The skin is an important organ that functions both as a physical barrier to protect body from invading pathogens and as a niche of diverse microbial diversity. Skin microbiome plays beneficial and pathogenic roles, for instances Staphylococcus epidermidis can inhibit attachment and biofilm formation of Staphylococcus aureus that causes atopic dermatitis. Propionibacterium acne can cause acne vulgaris. Hence, maintainance of skin bacterial diversity is important when many factor, such as age, sex, diets, climate and genetics, can affect the skin bacterial diversity. Studies reported that probiotics support healthy skin activities, for examples, synthesizing bacteriocin-like inhibitors to alleviate atopic dermatitis. This project focuses on the studies of clinical isolates of bacteria of Lacbobacillus casei, Lacbobacillus salivarius, Lacbobacillus rhamnosus, Lacbobacillus plantarum and Lacbobacillus fermentum (total 20 isolates), first is evaluating the tolerance of bacteria under pH 3, pH5 and bile salt for 3 hr. Second is comparing anti-bacterial activity against skin nonpathogen (S. epidermidis) and pathogens. (S. aureus and P. acne) The results has demonstrated that 19 species of Lactobacillus spp. had a viability at 75.21 – 97.50 % by L. casei NL 60 and commercial bacteria, L. acidophilus, was the most pH-tolerant. L. casei lac 44, L. rhamnosus lac 43 and NL58 at 10⁹ CFU/ml can significantly inhibit the growth of P. acne except for S. epidermidis. The reference, L. casei, showed inhibition zones against S. aureus and P. acne. The anti-bacterial ability suggests that potential use of probiotics is to control the bacterial balance on skin. On-going experiment is to evaluate in vitro skin cell cytotoxicity assay, and more studies about skin therapy studies are needed. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64546 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chalunya P_Se_2561.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.