Abstract:
ทำการเพิ่มจำนวนยีนในส่วนของ gp 55 ของไวรัสอหิวาต์สุกรด้วยวิธี RT-PCR โดยใช้ primers A8 (5' CCAYTTCCGTGACATTCGAGCTCCT 3 ’ ) และ 1R (5’ TAGCTGTCCCTGGGCTCATARTACTT 3’) ได้ผลผลิตขนาด 717 คู่เบส และทำการวิเคราะห์สารพันธุกรรมที่ได้นั้นด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ Xho II และ Ppu Ml โดยเปรียบเทียบรูปแบบของการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะดังกล่าวกับสายพันธุ์ที่ใช้ในการผลิตวัคซีน สายพันธุต่างประเทศ สายพันธุ์อ้างอิง ALD และสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทย พบว่าสามารถแบ่งรูปแบบของการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะดังกล่าวได้สามรูปแบบคือ กลุ่มที่ 1 รูปแบบของกลุ่มสายพันธุ์ที่ใช้ในการผลิตวัคซีนและสายพันธุ์ที่พบการระบาดในต่างประเทศ กลุ่มที่ 2 รูปแบบของสายพันธุ์อ้างอิง ALD และกลุ่มที่ 3 รูปแบบของสายพันธุ์ที่ใช้แยกได้ในประเทศไทย เมื่อนำตัวอย่างจากสุกรที่เป็นโรคอหิวาต์สุกรจำนวน 20 ตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ พบว่าสามารถเพิ่มจำนวนได้ด้วย primers คู่ดังกล่าวจำนวน 15 ตัวอย่างและให้รูปแบบการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะที่หลากหลาย คือได้รูปแบบการตัดของทั้งสามกลุ่ม การศึกษานี้ช่วยลดระยะเวลาในการวินิจฉัยและทำให้สามารถทราบถึงระบาด วิทยาของโรคอหิวาต์สุกรโดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลลำตับสารพันธุกรรม ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ง่ายขึ้น