DSpace Repository

การแยกชนิดของตัวอย่างเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรที่แยกได้ในประเทศไทยและเชื้อไวรัสวัคซีนอหิวาต์สุกร โดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสร่วมกับการใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ

Show simple item record

dc.contributor.advisor คณิศักดิ์ อรวีระกุล
dc.contributor.advisor สุดารัตน์ ดำรงค์วัฒนโภคิน
dc.contributor.author สรินนา ทุมาภา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-30T11:30:33Z
dc.date.available 2020-03-30T11:30:33Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740305393
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64549
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract ทำการเพิ่มจำนวนยีนในส่วนของ gp 55 ของไวรัสอหิวาต์สุกรด้วยวิธี RT-PCR โดยใช้ primers A8 (5' CCAYTTCCGTGACATTCGAGCTCCT 3 ’ ) และ 1R (5’ TAGCTGTCCCTGGGCTCATARTACTT 3’) ได้ผลผลิตขนาด 717 คู่เบส และทำการวิเคราะห์สารพันธุกรรมที่ได้นั้นด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ Xho II และ Ppu Ml โดยเปรียบเทียบรูปแบบของการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะดังกล่าวกับสายพันธุ์ที่ใช้ในการผลิตวัคซีน สายพันธุต่างประเทศ สายพันธุ์อ้างอิง ALD และสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทย พบว่าสามารถแบ่งรูปแบบของการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะดังกล่าวได้สามรูปแบบคือ กลุ่มที่ 1 รูปแบบของกลุ่มสายพันธุ์ที่ใช้ในการผลิตวัคซีนและสายพันธุ์ที่พบการระบาดในต่างประเทศ กลุ่มที่ 2 รูปแบบของสายพันธุ์อ้างอิง ALD และกลุ่มที่ 3 รูปแบบของสายพันธุ์ที่ใช้แยกได้ในประเทศไทย เมื่อนำตัวอย่างจากสุกรที่เป็นโรคอหิวาต์สุกรจำนวน 20 ตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ พบว่าสามารถเพิ่มจำนวนได้ด้วย primers คู่ดังกล่าวจำนวน 15 ตัวอย่างและให้รูปแบบการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะที่หลากหลาย คือได้รูปแบบการตัดของทั้งสามกลุ่ม การศึกษานี้ช่วยลดระยะเวลาในการวินิจฉัยและทำให้สามารถทราบถึงระบาด วิทยาของโรคอหิวาต์สุกรโดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลลำตับสารพันธุกรรม ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ง่ายขึ้น
dc.description.abstractalternative Amplification of gp55 region of classical swine fever virus by RT-PCR with forward primer A8 (5’ CCAYTTCCGTGACATTCGAGCTCCT 3’) and reverse primer 1R (5’ TAGCTGTCCCTGGGCTCATARTACTT 3’), then the 717 bp amplicon were generated. Differentiation between viral strains were achieved by cutting the RT-PCR amplified products with the restriction endonuclease Ppu Ml and Xho II. Using of these enzymes it was possible to distinguish three groups of CSFV; group I contained vaccine and foreign field strains, group II contained ALD reference strain and group III contained Thai field isolates. Twenty positive field samples by virus isolation and identification were analyzed but only fifteen samples were amplified with A8 and 1R. Various pattern or restriction fragments were observed and could be classified into three groups. This indicates the genomic diversity of CSFV among Thai Isolates. In addition, the study reveals the potential of using RT-PCR together with RFLPs for diagnosis of CSFV infection.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.274
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อหิวาต์สุกร en_US
dc.subject สุกร--โรคเกิดจากไวรัส en_US
dc.subject วัคซีนไวรัส en_US
dc.subject ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส en_US
dc.subject เอนไซม์ตัดจำเพาะ en_US
dc.subject Classical swine fever en_US
dc.subject Swine -- Virus diseases en_US
dc.subject Viral vaccines en_US
dc.subject Polymerase chain reaction en_US
dc.title การแยกชนิดของตัวอย่างเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรที่แยกได้ในประเทศไทยและเชื้อไวรัสวัคซีนอหิวาต์สุกร โดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสร่วมกับการใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ en_US
dc.title.alternative Differentiation of classical swine fever virus (csfv) among Thai isolates and vaccine strains by reverse transcriptase polymerase chain reaction and restriction fragment length polymorphisms en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Kanisak.O@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2001.274


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record