DSpace Repository

การประเมินการตีความตัวบทตามแนวทางพุทธศาสนาเถรวาท

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวรรณา สถาอานันท์
dc.contributor.author นวชัย เกียรติก่อเกื้อ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสคร์
dc.date.accessioned 2020-03-30T16:41:59Z
dc.date.available 2020-03-30T16:41:59Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740310141
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64565
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract การประเมินการตีความตัวบททางศาสนาเป็นปัญหาหลักเรื่องหนึ่งในปรัชญาศาสนา แม้ว่าพุทธศาสนาเถรวาทถือว่าตัวบท (ได้แก่ พระไตรปิฎก) มีความสำคัญอย่างสูง แต่การศึกษาตัวบทอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุธรรมตามคำสอนในพุทธศาลนาเถรวาท ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จะพิจารณาแนวคิดเรื่องการตีความและการประเมินการตีความตัวบทในพุทธศาสนาเถร วาท เพื่อแสดงให้เห็นถึงเงื่อนไขของการตีความและการประเมินการตีความตัวบทในพุทธศาสนาเถรวาท อันประกอบด้วยเงื่อนไขด้านผู้อ่านและเงื่อนไขด้านตัวบท เงื่อนไขหรือเกณฑ์ของการประเมินการตีความตัวบทในพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ 1) เงื่อนไขจำเป็น คือการตีความนั้นต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเห็นผิดเดิมของผู้อ่านให้เป็นความเห็นที่ชอบที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) พัฒนาให้เกิดปัญญาในเบื้องต้น 2) เงื่อนไขเพียงพอ คือเมื่อนำผลที่ได้จากการตีความนั้นไปปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมทำให้เกิดผลของการปฏิบัติธรรม ได้แก่ ปัญญาในระดับสูง (ภาวนามยปัญญา) ซึ่งทำให้ดับทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง 3) เงื่อนไขโดยสมบูรณ์ คือ การตีความตัวบทนำไปสู่การปฏิบัติธรรมและส่งผลให้เกิดการดับทุกข์บรรลุธรรมได้โดยสมบูรณ์ในท้ายที่สุด เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่อยู่ภายนอกอันพัฒนามาจากตัวบท ดังนั้น การประเมินการตีความตัวบทในพุทธศาสนาเถรวาทจึงไม่ได้เป็นการประเมินจากภายในตัวบทนั้นเองเท่านั้น แต่เป็นการประเมินจากธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐที่อยู่ภายนอกตัวบท ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านการศึกษาตัวบทและปฏิบัติธรรมตามคำสอนในพุทธศาสนา
dc.description.abstractalternative Assessment of religious textual interpretation is a major topic in Philosophy of Religion. Even though Theravada Buddhism regards its texts, namely Tipitaka, as the most crucial, a study of texts without practice would not be sufficient for the attainment of Dhamma. In this thesis, I propose to study the Buddhist assessment of textual interpretation which explicates the conditions of interpretation and its assessment, conditions pertaining to the text and the reader. Conditions or criteria for an assessment of textual interpretation in Theravada Buddhism are: 1) necessary condition: that interpretation transforms reader’s misunderstanding into right view or right understanding (sammaditthi), the initial development of wisdom (panna). 2) sufficient condition: that interpretation leads to correct practice which is a condition for superior wisdom (bhavanamaya panna). Its effect is the cessation of suffering at the initial stage. 3) ultimate condition: that correct practice leads to a complete cessation of suffering, the attainment of Dhamma. These conditions are external to the text but developed from the text. Thus, textual interpretation in Theravada Buddhism is not only internally assessed by its text, but also needs assessment from the Truth of Dhamma, the Noble Truth, which can be achieved through a study of the texts together with correct practice according to Buddhist teachings.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject พุทธศาสนาเถรวาท
dc.subject พุทธปรัชญา
dc.subject ธรรมะ
dc.subject Theravada Buddhism
dc.subject Philosophy, Buddhist
dc.subject Dharma (Buddhism)
dc.title การประเมินการตีความตัวบทตามแนวทางพุทธศาสนาเถรวาท en_US
dc.title.alternative Assessment of textual interpretation in Theravada Buddhism en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ปรัชญา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Suwanna.Sat@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record