DSpace Repository

การดำเนินของโรคเอสแอลอีที่สัมพันธ์กับนิเวศจุลชีพในลำไส้ของหนูทดลอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นราพร สมบูรณ์นะ
dc.contributor.author ธันยา เฉียบฉลาด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-01T04:49:36Z
dc.date.available 2020-04-01T04:49:36Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64575
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract นิเวศจุลชีพในลำไส้มีบทบาทสำคัญต่อสารอาหารของร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน ความหลากหลายของนิเวศจุลชีพในลำไส้สามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะของสุขภาพ การเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบของนิเวศจุลชีพในลำไส้จึงมีความสัมพันธ์ต่ออาการและการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคลำไส้อักเสบ และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคปลอกประสาทอักเสบ รวมทั้งโรคเอสแอลอี ซึ่งเป็นโรคที่ยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด และยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากนี้ การรักษาสมดุลของนิเวศจุลชีพในลำไส้ (homeostasis) ก็อาจนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ โครงการนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของนิเวศจุลชีพในลำไส้ของหนูทดลอง สายพันธุ์ C57BL/6 ที่สุขภาพดีกับหนูทดลอง C57BL/6 ที่เป็นโรคเอสแอลอีที่เกิดจากการกระตุ้นด้วย สารเคมี (pristane) และที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม (FcgRIIB-/-) โดยวิเคราะห์ระดับ ความรุนแรงของโรคจากปริมาณ anti-dsDNA, ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ, IL-6, TNF-a และ IL-10 กับการเปลี่ยนแปลงของนิเวศจุลชีพในลำไส้ จากมูลของหนูทดลองให้เป็นตัวแทนของจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่ระยะเวลา 2, 4, 6, 8 และ 10 เดือน โดยเทคนิคเมตาจีโนมิกส์ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับเบสที่ยีน 16S ไรโบโซมอลอาร์เอ็นเอ จากนั้นวิเคราะห์ทางชีวสารสนเทศ ด้วยโปรแกรม Mothur พบว่าการดำเนินของอาการในโรคเอสแอลอีมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของนิเวศจุลชีพในลำไส้ โดยกลุ่ม pristane มีอาการของโรคที่อายุ 6 เดือนและมีการเพิ่มความหลากหลายของ OTUs แต่กลุ่ม knockout จะเริ่มมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยที่อายุ 4 เดือนและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีการเพิ่มขึ้นของ OTUs และพบว่ามี ชนิดของแบคทีเรีย ที่มีการเปลี่ยนแปลง ที่อายุ 4 เดือนทั้งสองกลุ่มได้แก่ มีการลดลงของ Lachnospiraceae, Oscillospira และ Clostridium methylpentosum ส่วนที่มีการเพิ่มขึ้นได้แก่ มีการเพิ่มขึ้นของแบคทีเรียในคลาส Mollicutes ตั้งแต่ที่อายุ 6 เดือน en_US
dc.description.abstractalternative Gut microbiota play an importance role in nutritional health and immunological system. Maintaining the balance of microbiological ecology in the intestine (homeostasis) may lead to better health. Dysbiosis of gut microbiota and diversity can be related to the health and associated with many diseases, including systemic lupus erythematosus (SLE), which is chronic autoimmune disease. However, mechanism is unclear and this disease cannot be cured. Many previous studies have shown that healthy and SLE group have different gut microbiota. Therefore, this project studied the association of SLE progression and changes of gut microbiota; comparing between wild-type c57BL/6 mice and C57BL/6 mice that were caused SLE by different factors, Pristane and genetic knockout (FcgRIIB-/-), along the progression of symptoms from anti-dsDNA, urine protein, IL-6, TNF-a and IL-10, at 2, 4, 6, 8 and 10 months. The fecal samples representative of intestinal microorganisms, and were analyzed using metagenomics combined with sequence analyze var region 4 of 16S ribosomal RNA gene. Bioinformatic analyses using Mothur program highlighted that the changes of gut microbiota were associated with the occurrence of SLE symptoms. Pristane mice had increased markedly symptoms and OTUs at 6 months of age, while FcgRIIB-/- knockout mice had symptoms at 4 months of age but OTUs were not changed. Both pristane and knockout mice at 4 months of family Lachnospiraceae , Oscillospira and Clostridium methylpentosum decreased, yet Mollicutes increased slightly at 6 months of age. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การดำเนินของโรคเอสแอลอีที่สัมพันธ์กับนิเวศจุลชีพในลำไส้ของหนูทดลอง en_US
dc.title.alternative Progression of systemic lupus erythematosus is related to gut microbiota composition in mouse model en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Naraporn.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record