Abstract:
ในเมล็ดกาแฟหลังการเก็บเกี่ยวมักพบการปนเปื้อนจากราและสารพิษจากรา โดยเฉพาะการ ปนเปื้อนจากโอคราทอกซินเอ ซึ่งพบปนเปื้อนในเมล็ดกาแฟทั้งก่อนและหลังการแปรรูป การควบคุมทาง ชีวภาพโดยใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เป็นวิธีการควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการควบคุมการปนเปื้อนจากรา และสารพิษจากรา แบคทีเรียกรดแลคติกเป็นหนึ่งในตัวควบคุมทางชีวภาพที่น่าสนใจ โครงการนี้มี จุดประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกในตัวอย่างกาแฟหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่ ผลกาแฟสุก เมล็ด กาแฟหมัก เมล็ดกาแฟกะลา และน้ำหมักเมล็ดกาแฟจากสถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงตีนตก และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และประเมินผล การเป็นปฏิปักษ์ของแบคทีเรียกรดแลคติกต่อราที่ผลิตโอคราทอกซินเอ พบว่าสามารถคัดแยกแบคทีเรีย กรดแลคติกได้ 62 ไอโซเลตจากตัวอย่างกาแฟทั้งหมด ยกเว้นในเมล็ดกาแฟกะลา และพบมากที่สุดในเมล็ด กาแฟหมัก จากนั้นจัดจำแนกกลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติกที่คัดแยกได้ 6 กลุ่มตามลักษณะโคโลนีบนอาหาร เลี้ยงเชื้อแข็ง MRS รูปร่างเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์จากการย้อมสีแกรม และคุณสมบัติทางชีวเคมี สำหรับการประเมินผลการเป็นปฏิปักษ์ของแบคทีเรียกรดแลคติกที่คัดแยกได้ต่อราที่ผลิตโอคราทอกซินเอ ด้วยวิธี Agar spot assay พบว่ามากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของแบคทีเรียกรดแลคติกที่นำมาทดสอบสามารถ ยับยั้งการเจริญของราที่ผลิตโอคราทอกซินเอได้ โดยไอโซเลท MW2A ให้ผลการยับยั้งดีที่สุด