dc.contributor.advisor |
ชีวานันท์ เดชอุปการ ศิริสมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
กาญจนาภรณ์ สุดเสงี่ยม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-04-01T05:19:58Z |
|
dc.date.available |
2020-04-01T05:19:58Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64579 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
en_US |
dc.description.abstract |
ในเมล็ดกาแฟหลังการเก็บเกี่ยวมักพบการปนเปื้อนจากราและสารพิษจากรา โดยเฉพาะการ ปนเปื้อนจากโอคราทอกซินเอ ซึ่งพบปนเปื้อนในเมล็ดกาแฟทั้งก่อนและหลังการแปรรูป การควบคุมทาง ชีวภาพโดยใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เป็นวิธีการควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการควบคุมการปนเปื้อนจากรา และสารพิษจากรา แบคทีเรียกรดแลคติกเป็นหนึ่งในตัวควบคุมทางชีวภาพที่น่าสนใจ โครงการนี้มี จุดประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกในตัวอย่างกาแฟหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่ ผลกาแฟสุก เมล็ด กาแฟหมัก เมล็ดกาแฟกะลา และน้ำหมักเมล็ดกาแฟจากสถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงตีนตก และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และประเมินผล การเป็นปฏิปักษ์ของแบคทีเรียกรดแลคติกต่อราที่ผลิตโอคราทอกซินเอ พบว่าสามารถคัดแยกแบคทีเรีย กรดแลคติกได้ 62 ไอโซเลตจากตัวอย่างกาแฟทั้งหมด ยกเว้นในเมล็ดกาแฟกะลา และพบมากที่สุดในเมล็ด กาแฟหมัก จากนั้นจัดจำแนกกลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติกที่คัดแยกได้ 6 กลุ่มตามลักษณะโคโลนีบนอาหาร เลี้ยงเชื้อแข็ง MRS รูปร่างเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์จากการย้อมสีแกรม และคุณสมบัติทางชีวเคมี สำหรับการประเมินผลการเป็นปฏิปักษ์ของแบคทีเรียกรดแลคติกที่คัดแยกได้ต่อราที่ผลิตโอคราทอกซินเอ ด้วยวิธี Agar spot assay พบว่ามากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของแบคทีเรียกรดแลคติกที่นำมาทดสอบสามารถ ยับยั้งการเจริญของราที่ผลิตโอคราทอกซินเอได้ โดยไอโซเลท MW2A ให้ผลการยับยั้งดีที่สุด |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Post-havested coffee beans usually are contaminated by molds and mycotoxins, especially ochratoxin A (OTA) that found in both unprocessed and processed coffees. Biological control using antagonistic microorganisms is one of the effective methods to control fungal and mycotoxin contamination. Among the antagonistic microorganisms, lactic acid bacteria (LAB) are the good biological agents. The objective of this study was to; (a) isolate lactic acid bacteria from cherry coffee, fermented coffee, parchment coffee and fermented water from 3 stations of Royal Project Foundation (Mae Lod, Teen Tok and Pa Miang), Chiang Mai, Thailand, (b) to evaluate the antagonistic activity of isolated lactic acid bacteria against ochratoxigenic fungi. Sixty two lactic acid bacteria were found in all samples, particularly in fermented coffee sample (except in the parchment coffee). The isolated lactic acid bacteria cloud be divided into six groups depended on colony on MRS agar, Grams’ stain, cell morphology and biochemical characteristics. For the evaluation of antagonistic activity against ochratoxigenic fungi by agar spot assay, more than 60% of selected lactic acid bacteria were able to inhibit growth of ochratoxigenic fungi with the greatest inhibitory activity of Mae Lod-MW2A isolate. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.title |
การคัดแยก การคัดเลือก และการประเมินผลของแบคทีเรียกรดแลคติกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อราที่ผลิตโอคราทอกซินเอในเมล็ดกาแฟหลังการเก็บเกี่ยว |
en_US |
dc.title.alternative |
Isolation, selection and evaluation of antagonistic activity of post-harvest lactic acid bacteria against ochratoxigenic fungi in coffee beans |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Cheewanun.D@Chula.ac.th |
|