dc.contributor.advisor |
ไชยันต์ ไชยพร |
|
dc.contributor.author |
วรินทร กฤษณมิตร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-04-02T08:23:10Z |
|
dc.date.available |
2008-04-02T08:23:10Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.isbn |
9745328162 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6475 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
en |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาว่าด้วยเรี่อง "รัฐบุรุษ" ของเพลโต มีจุดประสงค์เพื่อศึกษานิยามของรัฐบุรุษในทัศนะของเพลโต รวมถึงวิธีการต่างๆที่เพลโตใช้ในการศึกษานิยามดังกล่าวอันได้แก่ วิธีการแบ่งออกเป็นสอง, ปริศนาเรขาคณิต, การตั้งชื่อ, ตำนาน, การยกตัวอย่าง, และศิลปะการวัด ตลอดจนศิลปะการทอผ้าซึ่งเพลโตใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษานิยามของรัฐบุรุษทั้งในแง่ของกลไลการทำงานและในแง่ของนัยที่แฝงไว้ในตัววิธีการเหล่านี้เอง โดยใช้ทฤษฎีการตีความ (Hermeneutics) ตามแนวคิดของ Hans-Georg Gadamer และทฤษฎีไพธากอรัส (Pythagorean Theroy) เป็นกรอบในการวิเคราะห์และตีความ ผลการวิจัยของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ก็คือ นิยามของรัฐบุรุษในทัศนะของเพลโตคือผู้ปกครองที่เป็นมนุษย์ ซึ่งปกครองมนุษย์ด้วยตนเอง โดยผู้ปกครองนี้จะต้องเป็นผู้ที่ครอบครองความรู้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่งอื่นๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตด้วย การปกครองของรัฐบุรุษไม่ใช่การเลี้ยงดู แต่เป็นการปกครองโดยจัดหาสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการบรรลุซึ่งความรู้ในทางปรัชญาของผู้ใต้ปกครอง นอกจากนั้นรัฐบุรุษยังทำหน้าที่ทอประสานคนในรัฐที่มีธรรมชาติแตกต่างกันเข้าด้วยกัน ด้วยการสร้างพันธะทั้งทางจิตและทางกาย ภายใต้กฎหมายที่เขาเห็นว่าเหมาะสมสำหรับแต่ละกรณี ทว่าตัวรัฐบุรุษเองนั้นจะมีสถานะอยู่เหนือกฎหมาย ด้วยการปกครองของรัฐบุรุษนี้คนในสังคมจะดำรงอยู่ร่วมกันอย่างผสมกลมกลืน เกิดเป็นสังคมการเมืองที่ดีที่มีเป้าหมายอยู่ที่การบรรลุซึ่งความรู้ในทางปรัชญาของคนในรัฐ |
en |
dc.description.abstractalternative |
This research is to study the definition of statesman in Plato's view and his methods used for defining statesman which are division, geometric puzzle, nomination, mystifying, exampling and measuring, including weaving in the cases of working mechanism and implications. The framework of theories used for analyzing is Hans-Georg Gadamer's hermeneutics and Pythagorean theory. The findings of the research is the definition of statesman in Plato's view is human ruler who rules over human beings. This ruler has to possess knowledge not only about human nature, but also living and non-living things. Statesman's ruling is not rearing, but facilitating conditions that permit his people access to philosophical knowledge. Furthermore, he coordinates different kind of people by making divine bond and human bond under the laws which he makes decisions for each case ; meanwhile he is to be over these laws. Regarding to this form of ruling, people would live together harmoniously and the society will happen in good political conditions that permit them access to philosophical knowledge as purpose. |
en |
dc.format.extent |
1938447 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
เพลโต |
en |
dc.subject |
การปกครอง |
en |
dc.subject |
รัฐบุรุษ |
en |
dc.title |
การศึกษาว่าด้วยเรื่อง "รัฐบุรุษ" ของเพลโต |
en |
dc.title.alternative |
A study on Plato's statesman |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
การปกครอง |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Chaiyand.C@Chula.ac.th |
|