DSpace Repository

ระดับการยอมรับความเสี่ยงและการเลือกเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: การวิเคราะห์ด้วยเกมบัญชี

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุทัย ตันละมัย
dc.contributor.author ไกรวุฒิ ตั้งสัตยาชีพ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2020-04-05T07:10:29Z
dc.date.available 2020-04-05T07:10:29Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64777
dc.description วิทยานิพนธ์ (บธ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
dc.description.abstract การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ทำให้มีรายการแลกเปลี่ยนด้วยสกุลเงินตราต่างประเทศในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น และเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูงทำให้การดำเนินงานของธุรกิจมีความไม่แน่นอนและเกิดความเสี่ยงขึ้น ดังนั้นธุรกิจจึงอาศัยการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยใช้ตราสารอนุพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องการป้องกันความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์ อีกทั้งการบัญชีป้องกันความเสี่ยงที่มีมาตรฐานการบัญชีทั้งของสากลและของไทยออกมารองรับนั้นเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและเนื้อหาที่ค่อนข้างยากต่อความเข้าใจของผู้บริหาร ดังนั้นเกมการบัญชีป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นให้ทำงานบน แท็บเล็ตสำหรับผู้บริหารและผู้ที่สนใจเรียนรู้และเข้าใจแนวคิดการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อมุ่งเน้นศึกษาผลลัพธ์ในสามส่วนคือ ส่วนแรกเพื่อต้องการศึกษาว่าระดับการยอมรับความเสี่ยงส่วนบุคคลที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการเลือกเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ ส่วนที่สองเพื่อศึกษาว่าลำดับหัวข้อการป้องกันความเสี่ยงของการเล่นเกมจะส่งผลต่อการเลือกเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ ส่วนสุดท้ายคือระดับการยอมรับความเสี่ยงส่วนบุคคลของผู้เล่นก่อนและหลังการเล่นเกมมีความแตกต่างกันหรือไม่ ผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 115 คน เป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน และพนักงานบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ โดยเลือกจากผู้ที่มีพื้นฐานการป้องกันความเสี่ยง ตราสารอนุพันธ์ และการบัญชีการเงิน ผลวิจัยพบว่าระดับการยอมรับความเสี่ยงส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (ชอบเสี่ยงและไม่ชอบเสี่ยง) ส่งผลต่อการเลือกเครื่องมือการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ในทำนองเดียวกัน ลำดับหัวข้อการเล่นเกม (เล่น Fair Value Hedge ก่อนเล่น Cash Flow Hedge หรือ เล่น Cash Flow Hedge ก่อนเล่น Fair Value Hedge) นั้นส่งผลต่อการเลือกเครื่องมือการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามผลวิจัยไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลร่วมของระดับการยอมรับความเสี่ยงและลำดับหัวข้อการเล่นเกม กับการเลือกเครื่องมือการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และท้ายสุดผลวิจัยไม่พบความแตกต่างระหว่างระดับการยอมรับความเสี่ยงส่วนบุคคลก่อนและหลังการเล่นเกม ซึ่งผลการวิจัยกึ่งทดลองสนับสนุนสมมติฐานของงานวิจัยทั้งหมด
dc.description.abstractalternative With the establishment of ASEAN Economic Community (AEC), there are increasing foreign exchange currency transactions by businesses in Thailand. Since foreign currency exchange rates are highly volatile causing uncertainty and risk to business operations, businesses rely on foreign currency exchange rate hedge using derivatives to mitigate these risks. Nevertheless, both hedging and derivative concepts as well as hedge accounting, based on both Thai and international standards, are quite difficult to comprehend by management.  Thus, the Hedge Accounting Game for Foreign Currency Exchange (HAGFCE) was developed on a tablet platform for management and interested persons to learn and understand the relevant hedging concept. The objectives of present semi-experimental research are threefold. First is to examine whether different levels of personal risk attitude will affect the type of hedge tools being chosen by a game player. Second is to determine whether the sequence of hedge topics being played in the game will affect the selection of hedge tool used. The third and final objective is to study whether there is any different in the levels of personal risk attitude before and after a game player exposes to the game. One hundred and fifteen individuals from the master and doctoral programs of public and private universities as well as security companies in Bangkok metropolitan area are the subjects of study. To be included in the experiment, the subject must have prior knowledge about hedging and derivative concepts as well as some financial accounting background. The results show different levels of personal risk attitude (risk lover versus risk avoidance) affected the type of hedge tools being chosen. Likewise, the sequence of hedge topics being played in the game (Fair Value Hedge before Cash Flow Hedge or Cash Flow Hedge before Fair Value Hedge) affected the choice of hedge tools selected. However, no relationship was found between the interaction effect between level of personal risk attitude and hedge topic sequence on the selection of hedge tools. Finally, there was no change in the level of personal risk attitude before and after game playing. Thus, the experimental results have supported all hypotheses.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Business
dc.title ระดับการยอมรับความเสี่ยงและการเลือกเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: การวิเคราะห์ด้วยเกมบัญชี
dc.title.alternative Extents of risk aversion and choice of foreign exchange hedging instrument: an analysis through an accounting game
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Uthai.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record