DSpace Repository

ฤทธิ์ของสารสกัดจากสมุนไพรสำหรับเป็นสารต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระบบเลี้ยงเซลล์แบบสองมิติและสามมิติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนาภัทร ปาลกะ
dc.contributor.author ธรณ์ธันย์ แดงแพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-10T03:06:08Z
dc.date.available 2020-04-10T03:06:08Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65225
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สามารถเกิดได้มากทั้งในเพศชายและเพศหญิงและจะเกิดมากขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ให้ผลเสียน้อย การใช้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการรักษามะเร็งเป็นหนทางใหม่ในการรักษา เนื่องจากสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอาจทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างจำเพาะกว่าการใช้เคมีบำบัด โดยในปัจจุบันได้มีวิธีการเลี้ยงเซลล์แบบสามมิติ ซึ่งเป็นวิธีการเลี้ยงเซลล์ที่สามารถจำลองสภาวะแวดล้อมได้ใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยมีประโยชน์ในการค้นหาสารต้านมะเร็งชนิดใหม่ การเลี้ยงเซลล์แบบสามมิติจะเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์และระหว่างเซลล์กับ Extracellular matix (ECM) มีการลาดเอียงความเข้มข้นของสารอาหารและออกซิเจน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจำลองได้ในการเลี้ยงเซลล์แบบสองมิติ ในการศึกษานี้ ศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพทั้งหมด 11 สาร (รหัส ASTP40-42, ASTP53-60) ที่ทำให้บริสุทธิ์จากพืช 2 ชนิด Croton crassifolius และ Tiliacora triandra ต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบผลของสารเหล่านี้ต่อเซลล์มะเร็งที่ถูกเลี้ยงแบบสองมิติและสามมิติโดยใช้เซลล์ไลน์มะเร็งลำไส้ใหญ่ SW620 โดยผลจากการทำ MTT assay ในการทดสอบผลของสารต่อการอยู่รอดของเซลล์ในการเลี้ยงเซลล์แบบสองมิติพบว่ามีทั้งหมด 6 สารที่มีฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งตาย (ASTP40-42,57,59,60) และอีก 5 สารที่ไม่มีฤทธิ์ต่อการตายของเซลล์มะเร็ง (ASTP53-56,58) แต่เมื่อนำสารทั้งหมดไปทดสอบต่อในการเลี้ยงเซลล์แบบสามมิติด้วยการเลี้ยงใน Ultra-Low Attachment 96-well plate หลังจากได้ spheroid ของเซลล์มะเร็งแล้วจึงนำมาทดสอบด้วยสารสกัดแล้วนำไปย้อมสีนิวเคลียสด้วยสี Hoechst เพื่อดูลักษณะการตายของเซลล์มะเร็ง พบว่ามี 2 สารที่ให้ผลขัดแย้งกับผลการทดลองแบบสองมิติ ได้แก่ สาร ASTP55 ซึ่งจากที่เคยไม่มีฤทธิ์ในการกำจัดมะเร็งที่เลี้ยงแบบสองมิติแต่กลับพบว่ามีฤทธิ์ในการกำจัดเซลล์มะเร็งที่เลี้ยงแบบสามมิติ และสาร ASTP59 ที่จากเดิมเคยมีฤทธิ์ในการเลี้ยงเซลล์แบบสองมิติ พบว่ามีฤทธิ์น้อยลงในการเลี้ยงแบบสามมิติ แต่พบว่าสามารถทำให้ความหนาแน่นของ spheroid ลดลงได้ ต่อมาเมื่อดูจากผล ATP assay พบว่า สาร ASTP53 และ ASTP55 สามารถลดการเจริญของเซลล์มะเร็งในการเลี้ยงแบบสามมิติได้จากที่เคยไม่มีผลในการเลี้ยงแบบสองมิติ และผลทั้งหมดนี้ยังชี้ว่า การใช้ระบบเลี้ยงเซลล์แบบสามมิติในการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ อาจช่วยให้สามารถค้นพบสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งซึ่งมีแอคทิวิตี้ต้านมะเร็งใน in vivo ได้ en_US
dc.description.abstractalternative Colon rectum cancer (CRC) is one of the major cancer-related causes of death around the world. CrC affects in people of all age but mainly the older adults. There is currently no effective treatments that cause few side effects. Natural bioactive compounds are one of the novel options to treat cancer. Because these compounds may show specificity in eliminating cancer cells, unlike chemotherapy. Recently, 3D cultures are the in vitro models that mimic in vivo tumor microenvironment. and open new way of the discovery of new cancer therapies. 3D cultures involve cell-cell interaction, cell-ECM interaction and have nutrient and O2 gradient which are lacking in the 2D cultures. In this study, 11 bioactive compounds (code name ASTP40-42, 53-60) which are purified from two medicinal plants Croton crassifolius and Tiliacora triandra are studied for anti-cancer activity against the colon cancer in 2D and 3D cultures, using SW620 cell lines as a model. The MTT assay revealed that 6 of 11 bioactive compounds (ASTP40-42,57,59,60) showed cytotoxicity against on colon cancer cell lines. In a 3D cultures, SW620 spheroids in 3D cultures using ultra-low attachment 96-well plate were treated by bioactive compounds and stained by Hoechst dye to observe the cytotoxicity. Interestingly, there are 2 out of 11 that showed opposite results between 2D and 3D cultures. First, ASTP55 which was no effect in 2D cultures but It has small effect in 3D cultures. Another is ASTP59 has less effect in 3D cultures compared to 2D cultures but It can interrupt spheroid formation and decrease spheroid density in 3D cultures. Furthermore, ATP assay result showed anti-cancer activity of ASTP53, 55 in 3D cultures. Taken together, the results indicate that using 3D culture system as a tool in the study of activity of bioactive compounds has potential for drug discovery of novel anti-cancer compounds, with anti-tumor activity in vivo. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ฤทธิ์ของสารสกัดจากสมุนไพรสำหรับเป็นสารต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระบบเลี้ยงเซลล์แบบสองมิติและสามมิติ en_US
dc.title.alternative Activity of bioactive compounds from medicinal plant as anti-colon cancer compounds in the 2D and 3D culture system en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Tanapat.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record