DSpace Repository

การศึกษาความรู้และทัศนคติของข้าราชการในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัว

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัสสร ลิมานนท์
dc.contributor.author ศิริพร ประนมพนธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial กรุงเทพฯ
dc.date.accessioned 2020-04-10T22:11:24Z
dc.date.available 2020-04-10T22:11:24Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.issn 9749524357
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65247
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความรู้และทัศนคติของข้าราชการเกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัว และศึกษาถึงปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อความรู้และทัศนคติของข้าราชการเกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการที่ทำงานในหน่วยราชการที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545 โดยเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้ข้าราชการที่เป็นตัวอย่างทั้งสิ้น 680 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ข้าราชการที่เป็นตัวอย่างกรอกแบบสอบถามตัวยตนเอง การศึกษาครั้งนี้พบว่าข้าราชการไทยมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัวในระดับปานกลาง และมีทัศนคติเชิงเป็นกลางเกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบสองตัวแปร และแบบหลายตัวแปร เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความรู้เกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัวกับปัจจัยต่าง ๆ นั้น พบว่าตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อความรู้ของข้าราชการไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ น้อยกว่า 0.05 คือ ระดับการศึกษา และการตัดสินใจเรื่องสำคัญภายในครอบครัว โดยตัวแปรทั้งสองที่กล่าวมานั้นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความรู้ในเรื่องตังกล่าว และกลุ่มตัวแปรอิสระทั้งหมดที่นำเข้าสู่สมการวิเคราะห์การถดถอย สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามคือ ความรู้เกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัว ร้อยละ 4.3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบสองตัวแปร และแบบหลายตัวแปร เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัวกับปัจจัยต่าง ๆ นั้น พบว่าตัวแปรอิสระที่ส่งผลเชิงลบต่อทัศนคติของข้าราชการไทยอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 คือ เพศ และตัวแปรอิสระที่ส่งผลเชิงบวกต่อทัศนคติของข้าราชการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05 คือ ทัศนคติต่อการแบ่งบทบาทและกำหนดหน้าที่ระหว่างเพศ และกลุ่มตัวแปรอิสระทั้งหมดที่นำเข้าสู่สมการวิเคราะห์การถดถอย สามารถอธิบาย ความผันแปรของตัวแปรตามคือ ทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัว ร้อยละ 6.3
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to measure level of knowledge and attitudes of government officials in Bangkok Metropolitan area toward Thai women’s rights under family law, and to investigate factors affecting knowledge and attitudes toward this issue. The sampled population are the in-service government officials who currently work in various ministries located in Bangkok Metropolitan and vicinity areas. Through the multistage sampling, 680 government officials are selected. The self-administered questionnaire is used to obtain information. The frequencies distribution showed that the sampled population have moderate knowledge and relatively neutral attitudes toward the Thai woman’s rights under family law. The regression analysis (bivariate and multivariate) is used to investigate the relationship between knowledge and attitudes towards Thai women's rights under family law and demographics, socio-economic and other independent variables. With regard to the analysis on knowledge and independent variables, it is found that only two independent variables; government officials' educational background, and decision making on the important matters in the family have strong positive relationship with the knowledge at less than 0.05 statistically significance. All independent variables entered into the regression explained only 4.3% of the variation of knowledge, a dependent variable. For the analysis on the relationship between attitudes toward Thai women's rights under family law and the same set of independent variables, it is found that two independent variables; sex (male) has negative relationship while attitudes toward sex role has positive relationship with the knowledge toward Thai women's rights under family law at less than 0.05 statistically significance. All independent variables entered into the regression explained only 6.3% of the variation of attitudes toward Thai women's rights under family law, a dependent variable.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.256
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สิทธิสตรี -- ไทย en_US
dc.subject ข้าราชการ -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject ข้าราชการ -- ทัศนคติ en_US
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ครอบครัว en_US
dc.subject Women's rights -- Thailand en_US
dc.subject Public officers -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.subject Public officers -- Attitudes en_US
dc.title การศึกษาความรู้และทัศนคติของข้าราชการในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยในกฎหมายครอบครัว en_US
dc.title.alternative A study of knowledge and attitudes of government officials in Bangkok Metropolitan area toward Thai women's rights under family law en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Bhassorn.L@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.256


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record