dc.contributor.advisor | เผ่า สุวรรณคีรี | |
dc.contributor.advisor | ภิญโญ สุวรรณคีรี | |
dc.contributor.author | พงศกร ยิ้มสวัสดิ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-04-17T14:27:31Z | |
dc.date.available | 2020-04-17T14:27:31Z | |
dc.date.issued | 2544 | |
dc.identifier.isbn | 9740304893 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65369 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | |
dc.description.abstract | โครงการและการออกแบบวัดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะการออกแบบพระอารามขึ้นร่วมเทิดพระเกียรติในวโรกาสครบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราช สมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และการที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ถวายรางวัลเทิดพระเกียรติคุณให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ข้อมูลซึ่งใช้ ประกอบในการออกแบบโครงการได้จากการศึกษาเอกสาร รวมทั้งการสำรวจภาคสนาม อันมีเนื้อหาครอบคลุมถึงเรื่องประวัติความเป็นมาของการสร้างวัดในพระพุทธศาสนา การวางผัง และรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารในเขตพุทธาวาส โดยเน้นเรื่องแนวความคิดในการใช้รูปสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายแทนตัวบุคคล โดยได้ทำการศึกษาจากพระอารามเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในที่เลือกมาเป็นตัวอย่าง นอกจากนั้น ยังได้ทำการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวช้องอาทิเช่น พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชจริยาวัตรและพระราชอัธยาศัยของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีรวมทั้งรายละเอียดของที่ตั้งโครงการเพื่อเป็นเอมูลเบื้องด้นในการออกแบบ โครงการนี้ เสนอให้ตั้งอยู่บริเวณริมแม่นั้นจ้าพระยาในชุมชนย่านวัคอนงคารามอันเป็นนิวาสสถานเดิมของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และทำการออกแบบเฉพาะเขตพุทธาวาส ซึ่งประกอบด้วย พระอุโบสถ ซุ้มเสมา ศาลาราย หมู่พระเจดีย์ ห้องสมุดพระธรรม อุทยานพระธรรม เป็นด้น สถาปัตยกรรมที่ทำการออกแบบมีลักษณะเป็นแบบไทยประเพณีสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นอาคารดอนกรีตเสริมเหล็กในระบบโครงสร้างเสาและคาน เป็นหลัก มีการนำเอารูปสัญลักษณ์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและสื่อความหมายถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตลอดจนแสดงถึงลักษณะความเป็นฝ่ายใน อาทิเช่น คอกบัวตูม สังวาลย์และเครื่องประดับ พานกลีบบัว ทรงกลมและผอบยอดปริกในชุดเครื่องราชูปโภคของฝ่ายใน เป็นต้น นำมาใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบรูปทรงตลอดจนลวดลายตกแต่งองค์ประกอบสถาปัตยกรรมในส่วนต่างๆ อาทิเช่น ซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง หน้าบัน บัว ปลายเสา เสาหัวเม็ด เป็นต้น ที่ผนังด้านสกัดด้านหน้าพระอุโบสถ ตั้งบุษบกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธาน ฝาผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมทศชาติและพุทธประวัติตอนเสด็จโปรดพุทธมารดา ส่วนหมู่พระเจดีย์มีลักษณะเป็นพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง อันเป็นรูปแบบสมัยรัตนโกสินทร์ที่สืบเบื้องมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย ประกอบด้วยพระเจดีย์ประธานและเจดีย์บริวารที่มุมทั้งสี่ ในชั้นฐานของหมู่พระเจดีย์จัดให้เป็นห้องสมุดศึกษาพระธรรม เพื่อเผยแผ่หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พื้นที่ด้านหน้าโครงการจัดให้เป็นอุทยานร่มรื่น มีบทบาทส่งเสริมห้องสมุดพระธรรมรวมทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนอีกประการหนึ่งด้วย | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis is to design the temple to commemorate the 100th birthday of H.RH. Princess Srinagarindra, the Princess Mother on October 21, 2000 and to honor H.RH. the Princess Mother as one of the world’s important persons recognized by UNESCO in the year 2000. The data for this project was gathered through the study of important documents and surveys of various sites to gain sufficient knowledge of the construction of Buddhist temples, their planning and the architecture in the Buddhavas area of the temples. The concept behind this project was to choose a design that reflected the personality and the character of the person. Therefore the temples which honor the Royal consorts or daughters of the King were examined as well as the life, activities, ethics and sentiments of H.R.H. the Princess Mother. The details of the construction site were also studied to serve as the basis for the design. This project is located on the bank of the Chao Phraya River in the community of Wat Anongkharam, where H.R.H. the Princess Mother had resided. The design was to be a Buddhist temple and would include the ubosot, a tabernacle with sema bases, pavilions, group of chedis or pagodas, Buddhist library and garden. The architecture is based on die Rattanakosin style, and it has been built with reinforced concrete structure using post and lintel system. Various objects have been installed to depict H.R.H. the Princess Mother’s life such as lotus flowers, sangvalya or the decorative chain, the gold pedestalled tray and the round box used as the Royal Utensils of the female member of the court, etc. These is shown in the designing of forms and the decoration of the architectural elements such as porticos, window frames, pediments, column capitals and comer pillars. Mandapa-shaped throne housing an image of a standing crowned Buddha is constructed on the front wall of the ubosot, it was erected in honor of H.R.H. the Princess Mother. Within the ubosot are a number of Buddha image and mural painting depicting the story of the Lord Buddha. The chedis are redented square pagodas, a Rattanakosin style, which was adapted from the late Ayutthaya period. They are erected with a center pagoda surrounded by four smaller ones at the comers. At the base of the pagodas is a library housed the holy scriptures of the Dhamma, or teachings of the Lord Buddha and his disciples, that initiated by H.R.H. the Princess Mother. Finally, at the front of the temple grounds is a shaded garden to enhance the library area as well as a place to relax and contemplate quietly. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | วัดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี -- การออกแบบสถาปัตยกรรม | |
dc.subject | การออกแบบสถาปัตยกรรม | |
dc.subject | Wat Chalerm Phra Kiat Somdech Phra Srinagarindra Boromarajajonani -- Design and construction | |
dc.subject | Design and construction | |
dc.title | โครงการและการออกแบบ วัดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี | |
dc.title.alternative | The programing and the designing of Wat Chalerm Phra Kiat Somdech Phra Srinagarindra Boromarajajonani | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |