Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ และระดับของศักยภาพในการพัฒนาของเทศบาลนครและเทศบาลเมือง 85 แห่ง ในด้านการแยกย่อยของโครงสร้างหน้าที่ทางด้านเศรษฐกิจการแยกย่อยทางสังคมและการผสมผสานทางสังคม และทำการจัดกลุ่มเทศบาลตามศักยภาพในการพัฒนา โดยใช้แนวคิดระบบสังคมที่พิจารณาการแยกย่อยและการผสมผสานว่าเป็นกระบวนการที่ทำให้เทศบาลเปลี่ยนแปลงสภาพจากสภาวะเรียบง่ายเข้าสู่ความซับซ้อน และมีความสามารถในการปรับตัวดีขึ้น เทศบาลที่มีการแยกย่อยและการผสมผสานในระดับสูง แสดงถึงศักยภาพในการพัฒนาที่สูงกว่าเทศบาลที่มีการแยกย่อยและการผสมผสานระดับตํ่า การเก็บข้อมูลใช้วิธีการส่งแบบสอบ ถามทางไปรษณีย์ โดยใช้เทคนิค Guttman Scale และ Multidimensional Scaling ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการแยกย่อยทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่มีในเขตเทศบาล ดังนี้ คือ โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทประกันภัย บริษัทขนส่ง สถานอาบอบนวด ไนต์คลับ โรงพยาบาลเอกชน บริษัทนำเที่ยว วิทยาลัยเอกชน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ดิสเคานท์โตร์และสาขาธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนรูปแบบการแยกย่อยทางสังคมประกอบด้วย ศูนย์บริการสาธารณสุข ห้องสมุดประชาชน โรงเรียนมัธยมศึกษารัฐบาล สนามกีฬา วิทยาลัย สมาคมอาชีพ ระบบบำบัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยและหอสมุดแห่งชาติสาขา และรูปแบบการผสมผสานทางสังคมประกอบด้วย สหกรณ์ สมาคมด้านการสงเคราะห์ มูลนิธิ สมาคมอื่น ๆ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ศูนย์เยาวชนและสถานีวิทยุกระจายเสียง ส่วนการจัดกลุ่มเทศบาลตามศักยภาพในการพัฒนาสามารถแบ่งเทศบาลที่ทำการศึกษาได้ 4 ระดับ คือ ศักยภาพสูงมาก ศักยภาพสูง ศักยภาพปานกลางและศักยภาพต่ำ ในด้านการแยกย่อยทางเศรษฐกิจเทศบาล 1 ใน 5 ของจำนวนทั้งหมดที่ทำการศึกษามีศักยภาพสูงถึงสูงมาก เมื่อ พิจารณาการแยกย่อยทางสังคมปรากฏว่าเทศบาล 1 ใน 4 ของจำนวนทั้งหมดที่ทำการศึกษาอยู่ในกลุ่มที่มีศักยภาพสูงถึงสูงมาก และด้านการผสมผสานทางสังคมเทศบาลมากกว่าร้อยละ 80 ที่ทำการศึกษามีศักยภาพปานกลางจนถึงตํ่า