Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพี่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการรับชื่อสินเชื่อที่อยู่อาศัยของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยตั้งสมมติฐานจากการศึกษาเบื้องต้นว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากสถาบันการเงินมีสภาพคล่องเพียงพอ จึงไม่ต้องพึ่งการทำธุรกรรมในระบบตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทั้งนี่ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 : เป็นการวิจัยเอกสารเพื่อหาข้อมูลพื้นฐาน โดยศึกษาแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องประวัติความเป็นมา การดำเนินงานในระบบตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพี่อทำความเข้าใจเบื้องต้น ส่วนที่2: เป็นการวิจัยภาคสนาม เพี่อเพี่อหาสาเหตุที่ทำให้การทำธุรกรรมชื่อขายในระบบตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีปริมาณน้อย จากการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการรับซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย จากการสำรวจความคิดเห็นด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่เป็นระบบ (Nonprobability Sampling) อาศัยการเลือกตามวิจารณญาณนของผู้ทำการวิจัย (Judgement Sampling) จากคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มตัวอย่างได้ 12 ท่าน และสามารถจำแนกออกตามบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมซื้อขายในระบบตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย คือ กลุ่มนักวิชาการจำนวน กลุ่มผู้บริหารบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย และกลุ่มผู้บริหารของสถาบันการเงิน และนำคำตอบที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอด้วยการพรรณนาประกอบตาราง การวิจัยพบว่าปัญหา และอุปสรรคในการรันชื่อสินเชื่อที่อยู่อาศัยของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีความสอดคล้องกับสมมติฐานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดัง อันดับแรก ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 11 จาก 12 ท่าน ให้ความเห็นว่าผู้ขายไม่มีความจำเป็นเรื่องสภาพคล่อง เนื่องจากเป็นภาวะที่สถาบันการเงินต่าง ๆ มีจำนวนเงินฝากเพียงพอ จึงยังไม่สนใจที่จะทำธุรกรรมกับบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อันดับรองลงมา ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 -8 จาก 12 ท่าน ให้ความเห็นว่ามีสาเหตุจากเงื่อนไขการรับชื่อเฉพาะหนี้ดีของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในขณะที่สถาบันการเงินต้องเร่งแก่ไขปัญหาในองศ์กร เช่น ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การเพิ่มทุนประกอบกับการทำธุรกรรมในระบบตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นนวัตกรรมใหม่ในระบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีขั้นตอนซับซ้อน ต้องพัฒนาเทคโนโลยี และอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ และสาเหตุของปัญหาอื่น ๆ ที่ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 จาก 12 ท่าน กล่าวถึงเรื่องการทำธุรกรรมในระบบตลาดรองมีต้นทุนสูงและผลตอบแทนยังไม่น่าพอใจ
ข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ (1) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยควรเปลี่ยนรูปแบบการรับชื่อสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบคละกันไปทั้งหนี้ดี และหนี้เสีย โดยอาจรับชื่อหนี้เสียในราคาที่ลดลงกว่าการรับชื่อหนี้ดี หรือแชร์ความเสี่ยงกับผู้ขาย เพี่อให้เหมาะสมกับภาวะตลาดที่ปัจจุบันสถาบันการเงินมียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นตัวเลขที่สูง (2) สถาบันการเงิน ควรพัฒนาคุณภาพของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในระบบตลาดแรกมากขึ้น เนื่องจากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ส่วนหนึ่งมาจากความหละหลวม และเห็นแก่พวกพ้อง (3) รัฐไม่ควรเข้าแทรกแซงในการตลาด เช่น โครงการสินเชื่อ 100% จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของสถาบันการเงิน และมีผลต่อคุณภาพของสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยไปในตลาดแรก และนอกจากนี้บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยควรมีการประชาสัมพันธ์บทบาทและกิจการของตัวเองมากขึ้น ในขณะที่สถาบันการเงินเองก็ควรเตรียมความพร้อมเพี่อการทำธุรกรรมหากเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องขึ้นในอนาคต (4) รวมถึงเสนอให้มีสถาบันการเงินประเภทใหม่ เช่น บริษัทสินเชื่อเพี่อการเคหะ ซึ่งจะทำหน้าที่ให้สินเชื่อในตลาดแรกด้วยต้นทุนราคาถูก โดยอาศัยแหล่งเงินทุนจากตลาดกู้ยืมระยะสั้นระหว่างสถาบันการเงินดำเนินงานภายใต้เงื่อนไขที่ต้องขายกองสินทรัพย์สินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย