Abstract:
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักลำตัวเป็นหนึ่งในวิธีการที่สำคัญสำหรับการศึกษาโครงสร้าง ประชากรและชีววิทยาการประมงของสัตว์น้ำ การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนต่าง ๆ และ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักลำตัวของปูทะเล Scylla paramamosain ซึ่งเป็นปูทะเลที่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวัดขนาดความยาวกระดอง ความกว้างกระดอง ความหนาลำตัว ความยาวก้ามส่วน chela ความยาวก้ามส่วน propodus และชั่งน้ำหนักลำตัวของปูทะเล S. paramamosain เพศผู้ ระยะโตเต็มวัย จำนวนทั้งหมด 537 ตัว และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนต่าง ๆ โดยใช้วิธีการ วิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation) และความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนต่าง ๆ และน้ำหนักลำตัว สามารถเขียนได้ในรูปของสมการเอกโพแนนเชียล คือ W = aLb ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์หารูปแบบการเจริญเติบโตของปู ทะเลได้ โดยใช้วิธีการของ Ricker (1975) ผลของการศึกษาครั้งนี้พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวกระดอง-ความกว้าง กระดอง ความยาวกระดอง-ความหนาลำตัว ความกว้างกระดอง-ความหนาลำตัว ความยาวกระดอง-ความยาวก้ามส่วน chela ความกว้างกระดอง-ความยาวก้ามส่วน chela ความยาวกระดอง-ความยาวก้ามส่วน propodus และความกว้างกระดอง- ความยาวก้ามส่วน propodus ความหนาลำตัว-ความยาวก้ามส่วน chela ความหนาลำตัว-ความยาวก้ามส่วน propodus และความยาวก้ามส่วน chela – ความยาวก้ามส่วน propodus มีความสัมพันธ์เชิงเส้นในทิศทางเดียวกัน (p<0.05) และความสัมพันธ์ระหว่างความยาวกระดอง ความกว้างกระดอง ความหนาลำตัวและน้ำหนักลำตัว พบว่าสมการแสดง ความสัมพันธ์ที่ได้ คือ W = -0.96272 CL3.83908 W = -1.82078 CW4.11544 และ W = 0.557816 BD3.11403 ตามลำดับ จาก ความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเจริญเติบโตเป็นแบบ positive allometry (b>3) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวก้ามส่วน chela และความยาวก้ามส่วน propodus และน้ำหนักลำตัวของปูทะเลที่พบว่า สมการแสดงความสัมพันธ์ที่ได้ คือ W = 0.274403 CHL2.52134 และ W=0.899926 PL2.5711 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการเจริญเติบโตเป็นแบบ negative allometry (b<3) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในอดีต นอกจากนั้นยังพบว่าความ ยาวก้ามส่วน chela มีขนาดเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักลำตัวที่เพิ่มขึ้นแต่จะคงที่เมื่อปูทะเลมีน้ำหนักตั้งแต่ 600 กรัมขึ้นไป ต่างกันกับ ความกว้างกระดองที่จะมีความยาวเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักลำตัวที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการ เจริญเติบโตของปูทะเล Scylla paramamosain และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดโครงสร้างและความยาวของรยางค์ส่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการศึกษาชีววิทยาการประมงและมอร์โฟเมทริกซ์ของปูทะเล S. paramamosain ต่อไปในอนาคต