dc.contributor.advisor | เจษฏ์ เกษตระทัต | |
dc.contributor.author | เอมิกา อาษาเอื้อ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-04-23T07:37:54Z | |
dc.date.available | 2020-04-23T07:37:54Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65473 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักลำตัวเป็นหนึ่งในวิธีการที่สำคัญสำหรับการศึกษาโครงสร้าง ประชากรและชีววิทยาการประมงของสัตว์น้ำ การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนต่าง ๆ และ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักลำตัวของปูทะเล Scylla paramamosain ซึ่งเป็นปูทะเลที่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวัดขนาดความยาวกระดอง ความกว้างกระดอง ความหนาลำตัว ความยาวก้ามส่วน chela ความยาวก้ามส่วน propodus และชั่งน้ำหนักลำตัวของปูทะเล S. paramamosain เพศผู้ ระยะโตเต็มวัย จำนวนทั้งหมด 537 ตัว และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนต่าง ๆ โดยใช้วิธีการ วิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation) และความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนต่าง ๆ และน้ำหนักลำตัว สามารถเขียนได้ในรูปของสมการเอกโพแนนเชียล คือ W = aLb ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์หารูปแบบการเจริญเติบโตของปู ทะเลได้ โดยใช้วิธีการของ Ricker (1975) ผลของการศึกษาครั้งนี้พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวกระดอง-ความกว้าง กระดอง ความยาวกระดอง-ความหนาลำตัว ความกว้างกระดอง-ความหนาลำตัว ความยาวกระดอง-ความยาวก้ามส่วน chela ความกว้างกระดอง-ความยาวก้ามส่วน chela ความยาวกระดอง-ความยาวก้ามส่วน propodus และความกว้างกระดอง- ความยาวก้ามส่วน propodus ความหนาลำตัว-ความยาวก้ามส่วน chela ความหนาลำตัว-ความยาวก้ามส่วน propodus และความยาวก้ามส่วน chela – ความยาวก้ามส่วน propodus มีความสัมพันธ์เชิงเส้นในทิศทางเดียวกัน (p<0.05) และความสัมพันธ์ระหว่างความยาวกระดอง ความกว้างกระดอง ความหนาลำตัวและน้ำหนักลำตัว พบว่าสมการแสดง ความสัมพันธ์ที่ได้ คือ W = -0.96272 CL3.83908 W = -1.82078 CW4.11544 และ W = 0.557816 BD3.11403 ตามลำดับ จาก ความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเจริญเติบโตเป็นแบบ positive allometry (b>3) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวก้ามส่วน chela และความยาวก้ามส่วน propodus และน้ำหนักลำตัวของปูทะเลที่พบว่า สมการแสดงความสัมพันธ์ที่ได้ คือ W = 0.274403 CHL2.52134 และ W=0.899926 PL2.5711 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการเจริญเติบโตเป็นแบบ negative allometry (b<3) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในอดีต นอกจากนั้นยังพบว่าความ ยาวก้ามส่วน chela มีขนาดเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักลำตัวที่เพิ่มขึ้นแต่จะคงที่เมื่อปูทะเลมีน้ำหนักตั้งแต่ 600 กรัมขึ้นไป ต่างกันกับ ความกว้างกระดองที่จะมีความยาวเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักลำตัวที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการ เจริญเติบโตของปูทะเล Scylla paramamosain และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดโครงสร้างและความยาวของรยางค์ส่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการศึกษาชีววิทยาการประมงและมอร์โฟเมทริกซ์ของปูทะเล S. paramamosain ต่อไปในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | A study of length-weight relationship is one of crucial methods for studying population structure and fishery biology of aquatic animals. This study aims to examine the morphometric study and the length-weight relationship of the mud crab Scylla paramamosain which is commercially important crabs in Thailand. Carapace length, carapace width, body depth, chela length, propodus length and body weight of the 537 male crabs as adult stage were measured. The relationships of length of each part and body weight were analyzed by using Pearson’ correlation. For the estimation of growth pattern, the relationships between length of each part and body weight were analyzed method by Ricker (1975). These relationships that expressed in term of exponential function as W = aLb can reflect the growth pattern of the animals. The results showed that the relationships of carapace length-carapace width, carapace length-body depth, carapace width-body depth, carapace length-chela length, carapace width-chela length, carapace length-propodus length, carapace width-propodus length, body depth-chela length, body depth-propodus length and chela length-propodus length had significantly positive correlation (p<0.05). The relationships between carapace length, carapace width, body depth and body weight were W = -0.96272 CL3.83908, W = -1.82078 CW4.11544 and W = 0.557816 BD3.11403 respectively. These results indicated that the mud crab S. paramamosain had positively allometric growth (b>3). On the other hand, the relationships of chela length-body weight and propodus length-body weight that were W = 0.274403 CHL2.52134 and W=0.899926 PL2.5711 respectively had negatively allometric growth (b<3). Moreover, chela length of the crabs increased with increasing body weight. In contrast, the relationship reaches its plateau when body weight of the crab was above 600 g. The results of this study provided growth pattern and relationships in terms of morphometric aspects that might be useful information for studying fishery biology and explaining morphometrics of the mud crab S. paramamosain in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การศึกษามอร์โฟเมทริกซ์ของปูทะเล Scylla paramamosain Estampador, 1949 ในบ่อเพาะเลี้ยง | en_US |
dc.title.alternative | Morphometric study of the Mud crab Scylla paramamosain Estampador, 1949 in captivity | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Jes.K@Chula.ac.th |