Abstract:
แท่งตะกอนดิน 20 แท่ง จากอ่าวไทย ซึ่งเก็บตัวอย่างโดยการกดท่อ PVC ลงไปใน box-corer และปิด ฝาขนส่งแบบตั้งตรง นำมาศึกษาลักษณะชั้นตะกอนดินด้วยการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ ซึ่งเป็นเทคนิคการ วิเคราะห์ที่รวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง นำภาพเอกซเรย์มาประมวลผลภาพเพื่อหาสัดส่วนองค์ประกอบ ขนาดอนุภาคของตะกอนดินจากค่าความแตกต่างของระดับสีของขนาดอนุภาคตะกอนในภาพเอกซเรย์ และ ศึกษาเปรียบเทียบผลกับการวิเคราะห์องค์ประกอบของขนาดอนุภาคตะกอนดินในตัวอย่างจากระดับความลึก ต่าง ๆ ด้วยวิธีการร่อนเปียกและตกตะกอน ผลการศึกษา ภาพเอกซเรย์แท่งตะกอนดินที่ได้ แสดงลักษณะการตกสะสมของตะกอนแบบสม่ำเสมอ และในแต่ละชั้นความลึกของแท่งตะกอนดินมีลักษณะตะกอนคล้ายคลึงกัน และในบางสถานีพบเปลือกหอย แทรกตัวอยู่ ในสถานีที่ 14 22 29 และ 35 ที่ทำการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคตะกอนด้วยวิธีร่อนเปียกและ ตกตะกอน ลักษณะของดินตะกอนส่วนใหญ่เป็น “ทรายแป้งปนดินเหนียว (clayey silt)” และ “ทรายแป้งปน ทราย (sandy silt)” โดยชนิดของขนาดอนุภาคส่วนใหญ่เป็น “ทรายแป้ง” สำหรับการหาสัดส่วนองค์ประกอบ ขนาดของตะกอนดินจากภาพถ่ายเอกซเรย์ การหาความแตกต่างของระดับสีของขนาดอนุภาคบนภาพถ่าย เอกซเรย์ให้ค่าความแม่นยำเฉพาะขนาดอนุภาคตะกอนที่เป็นชนิดเด่น เนื่องจากตะกอนดินในอ่าวไทยส่วนใหญ่ ประกอบไปด้วยตะกอนดินขนาดละเอียด (เล็กกว่า 63 ไมครอน) และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าในการวิเคราะห์ พบว่า ร้อยละของทรายแป้งที่คำนวณจากภาพเอกซเรย์มีค่าสูงกว่า และมีค่าแตกต่างจากค่าวิเคราะห์ด้วยวิธี ร่อนเปียกและตกตะกอนอยู่ในช่วงร้อยละ 10 - 20 โดยค่าข้อมูลที่มีความแตกต่างน้อยกว่าร้อยละ 30 คิดเป็น ร้อยละ 70 ของข้อมูลทั้งหมด สำหรับการหาขนาดอนุภาคตะกอนโดยวิธีถ่ายภาพและประมวลผลภาพถ่าย เอกซเรย์จากระดับสี เพื่อการศึกษาชั้นตะกอนดินในอ่าวไทย จำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมคุณภาพการถ่ายภาพ และพัฒนาวิธีแยกระดับสีของอนุภาคต่างชนิดกันให้ได้ระดับสีที่เหมาะสมต่อไป