Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมในชุมชนและเมืองของชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิมในเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อเสนอแนวทางการใช้พื้นที่สำหรับชุมชนแออัดไทยมุสลิม การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ศึกษาลักษณะของชุมชนแออัด ในด้านลักษณะการตั้งถิ่นฐาน กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของซาวไทยมุสลิม ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมหรือการทำกิจกรรมของชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิม และ 2) ศึกษาลักษณะการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมภายในชุมชนความสัมพันธ์การใช้พื้นที่ของชุมชนที่มีต่อพื้นที่เมือง จากการศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถามกลุ่มประชากรตัวอย่างจากชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิมในเทศบาลเมืองปัตตานี 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนสะบารัง ชุมชนบือติงตันหยง ชุมชนบีอติงหะยีแม และชุมชนยูโยด่านภาษี สามารถจำแนกลักษณะกิจกรรมของชาวชุมชนได้ 2 ประเภท คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา และกิจกรรมทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows เพื่อหาค่าความถี่ร้อยละของตัวแปรต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า การใช้พื้นที่ทำกิจกรรมของชาวชุมชนแออัดไทยมุสลิมในเทศบาลเมือง ปัตตานี คนทุกวัยจะใช้พื้นที่ทำกิจกรรมทั้ง 2 ประเภทซ้ำ ๆ เหมือนกัน และใช้เวลาไปสถานที่ทำกิจกรรมใกล้เคียงกัน เว้นแต่ความถี่ในการทำกิจกรรมเท่านั้นที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถสรุปความสัมพันธ์การใช้ พื้นที่ทำกิจกรรมเป็น 2 ระดับ คือ 1)ระตับชุมชน การใช้พื้นที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนาจะใช้พื้นที่ในบ้านและมัสยิดประจำชุมชน ส่วนกิจกรรมทั่วไปจะใช้พื้นที่ร้านค้าในชุมชน เป็นสถานที่ทำกิจกรรม 2) ระดับเมือง การใช้พื้นที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาลนาคือ มัสยิดกลางปัตตานี ในการเข้าร่วมละหมาดวันศุกร์และประเพณีฮารีรายอ สำหรับการใช้พื้นที่กิจกรรมทั่วไปจะเป็นบริเวณ ตลาด สวนสาธารณะ หรือโรงพยาบาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ หรือความสนใจของแต่ละบุคคล ในการศึกษาครั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมในชุมชนแออัดไทยมุสลิมเมืองปัตตานี คือ ควรให้มีการ ปรับปรุงสภาพทางกายภาพในแต่ละชุมชน เพื่อให้เกิดความสอดคล้อง และเหมาะสมกับการใช้พื้นที่ทำกิจกรรม โดยอาศัยความร่วมมือจากชาวชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง