Abstract:
แพลงก์ตอนสัตว์เป็นตัวกลางสำคัญในการถ่ายทอดสารอาหารและพลังงานจากผู้ผลิตไปสู่ ผู้บริโภคในระดับที่สูงขึ้นจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งทะเลได้ การศึกษาครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณชายฝั่งบ้านมดตะนอยในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตา 103 ไมโครเมตร ลากในแนวระนาบ เพื่อศึกษาความหลากหลายและ ความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณชายฝั่งบ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง โดยเก็บตัวอย่างจาก 3 บริเวณ ได้แก่ นอกแนวหญ้าทะเล แนวหญ้าทะเลและคลองในป่าชายเลน ผลการศึกษาพบแพลงก์ ตอนสัตว์ทั้งหมด 44 กลุ่ม จาก 12 ไฟลัม โดยมี bivalve larvae และ calanoid copepods เป็นกลุ่ม เด่นที่สามารถพบได้ทุกบริเวณ ความหนาแน่นเฉลี่ยของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณแนวหญ้าทะเลมี ค่าสูงสุดเท่ากับ 3.38x10⁵ ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร และต่ำสุดในคลองในป่าชายเลน 1.24x10⁵ ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งแตกต่างจากมวลชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์ (biovolume) ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดบริเวณนอกแนวหญ้าทะเล 26.32 มิลลิลิตรต่อลูกบาศก์เมตร และต่ำสุด ในคลองในป่าชายเลน 0.85 มิลลิลิตรต่อลูกบาศก์เมตร ผลการวิเคราะห์ nMDS แบ่งประชาคมของ แพลงก์ตอนสัตว์บริเวณชายฝั่งบ้านมดตะนอยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มที่อยู่นอกแนวหญ้าทะเล และในแนวหญ้าทะเลมี bivalve larvae เป็นกลุ่มเด่น โดย scyphozoans, echinopluteus larvae และ auricularia larvae เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบเฉพาะในบริเวณนี้ 2) กลุ่มที่อยู่บริเวณคลองในป่า ชายเลน มี calanoid copepods และ cyclopoid copepods เป็นกลุ่มเด่น ดัชนีความหลากหลาย และดุลยภาพการกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์แปรผันตรงกับปริมาณออกซิเจนละลาย ในขณะที่ มวลชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์แปรผกผันกับปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ อย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาครั้ง นี้แสดงให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งบ้านมดตะนอย และความสำคัญของระบบนิเวศ แนวหญ้าทะเลและป่าชายเลนในการเป็นแหล่งหลบภัยและแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ที่ แตกต่างกัน