DSpace Repository

ความหลากหลายและความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณแนวหญ้าทะเลและบริเวณคลองในป่าชายเลน บ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิชฌิกา ศิวายพราหมณ์
dc.contributor.author บุญวัฒน์ ผ่อนย่อง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-01T05:26:12Z
dc.date.available 2020-05-01T05:26:12Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65613
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract แพลงก์ตอนสัตว์เป็นตัวกลางสำคัญในการถ่ายทอดสารอาหารและพลังงานจากผู้ผลิตไปสู่ ผู้บริโภคในระดับที่สูงขึ้นจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งทะเลได้ การศึกษาครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณชายฝั่งบ้านมดตะนอยในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตา 103 ไมโครเมตร ลากในแนวระนาบ เพื่อศึกษาความหลากหลายและ ความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณชายฝั่งบ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง โดยเก็บตัวอย่างจาก 3 บริเวณ ได้แก่ นอกแนวหญ้าทะเล แนวหญ้าทะเลและคลองในป่าชายเลน ผลการศึกษาพบแพลงก์ ตอนสัตว์ทั้งหมด 44 กลุ่ม จาก 12 ไฟลัม โดยมี bivalve larvae และ calanoid copepods เป็นกลุ่ม เด่นที่สามารถพบได้ทุกบริเวณ ความหนาแน่นเฉลี่ยของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณแนวหญ้าทะเลมี ค่าสูงสุดเท่ากับ 3.38x10⁵ ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร และต่ำสุดในคลองในป่าชายเลน 1.24x10⁵ ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งแตกต่างจากมวลชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์ (biovolume) ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดบริเวณนอกแนวหญ้าทะเล 26.32 มิลลิลิตรต่อลูกบาศก์เมตร และต่ำสุด ในคลองในป่าชายเลน 0.85 มิลลิลิตรต่อลูกบาศก์เมตร ผลการวิเคราะห์ nMDS แบ่งประชาคมของ แพลงก์ตอนสัตว์บริเวณชายฝั่งบ้านมดตะนอยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มที่อยู่นอกแนวหญ้าทะเล และในแนวหญ้าทะเลมี bivalve larvae เป็นกลุ่มเด่น โดย scyphozoans, echinopluteus larvae และ auricularia larvae เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบเฉพาะในบริเวณนี้ 2) กลุ่มที่อยู่บริเวณคลองในป่า ชายเลน มี calanoid copepods และ cyclopoid copepods เป็นกลุ่มเด่น ดัชนีความหลากหลาย และดุลยภาพการกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์แปรผันตรงกับปริมาณออกซิเจนละลาย ในขณะที่ มวลชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์แปรผกผันกับปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ อย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาครั้ง นี้แสดงให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งบ้านมดตะนอย และความสำคัญของระบบนิเวศ แนวหญ้าทะเลและป่าชายเลนในการเป็นแหล่งหลบภัยและแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ที่ แตกต่างกัน en_US
dc.description.abstractalternative Zooplankton is an important link between primary producers and higher trophic levels. Thus, it can be used as a bioindicator of coastal environments. In this study, zooplankton samples were collected by taking horizontal tows with a plankton net (103 μm-mesh) above 3 areas, including bare sand adjacent to sea grass beds, seagrass beds, and mangrove canal at Banmodtanoy, Trang province. The zooplankton were identified into 44 taxa from 12 phyla. Copepods and bivalve larvae were the dominant group in this area. The maximum average abundance of zooplankton was observed in seagrass beds (3.38x10⁵ ind.100m³) and the minimum was found in mangrove canal (1.24x10⁵ ind.100m³). In contrast, the maximum biovolume of zooplankton was found in the bare sand (26.32 mL.m³3) and the minimum biovolume was observed in mangrove canal (0.85 mL.m³). The result of non-metric multidimensional scaling analysis showed that zooplankton communities were divided into 2 groups based on the area: 1) seagrass beds and bare sand, This areas were dominated by bivalve larvae, while scyphozoans, echinopluteus larvae and auricularia larvae were the characteristic group. 2) mangrove canal which was dominated by calanoid copepods and cyclopoid copepod. Shannon Wiener index and Evenness were positively correlated with dissolved oxygen, whereas biovolume of zooplankton was negatively correlated with chlorophyll a. This study shows high abundance of zooplankton along the coast of Banmodtanoy and emphasize the important of seagrass beds and mangrove as a nursery ground for marine animals. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ความหลากหลายและความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณแนวหญ้าทะเลและบริเวณคลองในป่าชายเลน บ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง en_US
dc.title.alternative Diversity and abundance of zooplankton in seagrass beds and mangrove canal in Banmodtanoy, Trang province en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Itchika.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record