Abstract:
เก็บแท่งดินตะกอนจากอ่าวไทย 4 สถานี ประกอบด้วยตัวอย่างจากพื้นที่ใกล้ชายฝั่ง 2 สถานี และ จากกลางอ่าว 2 สถานี เพื่อวิเคราะห์ปริมาณปรอทรวมตามระดับความลึก เก็บตัวอย่างภายใต้โครงการ “The Collaborative Research Survey on Marine Fisheries Resources and Marine Environment in the Gulf of Thailand” โดย เรือสำรวจ SEAFDEC-2 ในช่วง 16 สิงหาคม ถึง 11 ตุลาคม 2561 นำดิน ตะกอนภายในแท่งจากแต่ละชั้นความลึกมาทำให้แห้งแบบเยือกแข็งและบดให้เป็นเนื้อเดียวย่อยสกัดด้วย สารละลายอควารีเจียที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส ปรอทอินทรีย์ในสารละลายจะถูกออกซิไดซ์ และก่อน ทำการตรวจวัดปริมาณปรอทโดยเทคนิคอะตอมมิคแอบชอบชันแบบไอเย็น ปรอททุกรูปในสารละลายจะถูก เปลี่ยนเป็นไอปรอท จากนั้นไอปรอทจะถูกพาเข้าสู่เครื่อง Perkin Elmer FIMs-400 Flow – Injection Mercury ด้วยก๊าซอาร์กอน ผลการศึกษาพบว่า แคลเซียมคาร์บอเนตมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 7.8 ถึง 23.0 สถานี 29 มีคาร์บอเนตสูงสุดเมื่อเทียบกับอีก 3 แท่ง และค่าปริมาณปรอทรวมหลังปรับฐานด้วยคาร์บอเนต มีค่าอยู่ในช่วง 18.6 ถึง 37.9 ng/g dw จากการวิเคราะห์ค่าดัชนีการสะสมเชิงธรณี (Igeo) ของปรอท บ่งชี้ว่า ตัวอย่างดินตะกอนจากอ่าวไทยยังไม่อยู่ในภาวะปนเปื้อนจากปรอท อย่างไรก็ดี ในชั้นตะกอนแต่ละชั้นของ แท่งตะกอนเดียวกัน ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณปรอทในดินตะกอน กับปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ และกับปริมาณขนาดอนุภาคดินเหนียว ดังนั้นอาจบ่งบอกว่าปรอทที่ปนเปื้อนเข้ามานั้นมาจากกิจกรรมของมนุษย์