DSpace Repository

อนุกรมวิธานของผึ้งสกุล Heriades ในประเทศไทย (Hymenoptera: Megachilidae)

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐพจน์ วาฤทธิ์
dc.contributor.advisor เกรียง กาญจนวตี
dc.contributor.author กิตติกา สุวรรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-01T07:31:12Z
dc.date.available 2020-05-01T07:31:12Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65634
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract ผึ้งใช้ยางไม้ขนาดเล็กในสกุล Heriades Spinola, 1808 เป็นผึ้งกัดใบขนาดเล็กที่ปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 130 ชนิดทั่วโลกและมีการกระจายตัวในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา Heriades มีขนาดประมาณ 4-7 มิลลิเมตร โดยส่วนใหญ่ชอบทำรังในกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ถูกเจาะไว้อยู่แล้วโดยแมลงชนิดอื่น โดยชื่อของผึ้งใช้ยางไม้ขนาดเล็กนี้ถูกตั้งขึ้นตามพฤติกรรมในการสร้างรังโดยใช้ยางไม้หรือ resin ในการปิดผนึกเซลล์ที่ใช้วางไข่ Heriades เป็นผึ้งพื้นถิ่นที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีรายงาน Heriades ในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว คือ Heriades laosella Cockerell, 1929 และข้อมูลทางด้านชีววิทยาและอนุกรมวิธานของผึ้งสกุลนี้ยังมีอยู่น้อยมากในไทย วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้จึงต้องการทบทวนอนุกรมวิธานของผึ้งสกุล Heriades ในประเทศไทยโดยศึกษาจากตัวอย่างจำนวน 95 ตัวอย่าง (62, 33) ซึ่งเป็นตัวอย่างที่มีการรวบรวมจากภาคสนามทั่วประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบันและเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้อย่างละเอียด รวมทั้งข้อมูลการกระจายตัว จากผลการศึกษาสามารถระบุ morphospecies จากตัวอย่างของ Heriades เพศเมียในไทยได้อย่างน้อย 2 Morphospecies (morphospecies 1 54 ตัว และ morphospecies 2 8 ตัว) นอกจากนี้ยังได้ทำการเปรียบเทียบกับ type specimens ของ H. laosella Cockerell, 1929 และ Megachile parvula Lepeletier, 1841 ที่เก็บรักษาไว้ที่ Natural History Museum, London และ H. othonis Friese, 1914 จาก Museum fur Naturekunde, Berlin เพื่อยืนยันชื่อชนิดของ Heriades ที่พบในไทย ผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการศึกษาชีววิทยาของผึ้งในสกุล Heriades ในไทยต่อไปในอนาคต en_US
dc.description.abstractalternative Resin bees of genus Heriades Spinola, 1808, are small megachiline bees (4–7 mm in total length) with more than 130 species described, which can be found throughout Africa, Americas, and Asia. Heriades preferably utilized pre-excavated cavities by other insects as nest and partitioned its cells for brood rearing using plant resins, hence the name. Heriades is commonly found in Thailand though only one species was described and recorded, H. laosella Cockerell, 1929. Additional biology and taxonomic information of Heriades in Thailand is scarce and understudied. The purpose of this research is to reevaluate the taxonomic status of Heriades in Thailand by examining morphological characters of 95 Heriades specimens collected throughout Thailand from 2013 until present. Specimens were deposited at the Chulalongkorn University Natural History Museum and were dissected for the study of male genitalic structure. Geographic distribution was recorded from specimen’s labels. Two Heriades morphospecies are recognized (as morphospecies 1 and 2) though valid names for both entities are elusive despite the examination of type specimens of H. laosella and Megachile parvula Lepeletier, 1841 from the Natural History Museum, London, UK and H. othonis Friese, 1914 from Museum f.r Naturekunde, Berlin, Germany. This study is the first step toward the revision of Heriades in Thailand. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title อนุกรมวิธานของผึ้งสกุล Heriades ในประเทศไทย (Hymenoptera: Megachilidae) en_US
dc.title.alternative Taxonomic study of bees genus Heriades in Thailand (Hymenoptera: Megachilidae) en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Natapot.W@Chula.ac.th
dc.email.advisor Krieng.K@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record