dc.contributor.advisor |
อารดา กีระนันทน์ |
|
dc.contributor.author |
วราเมษ วัฒนไชย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-05-06T09:36:06Z |
|
dc.date.available |
2020-05-06T09:36:06Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.isbn |
9741433646 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65674 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งที่จะศึกษาศิลปะการประพันธ์ร้อยกรองในวรรณคดีร้อยกรองของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพื่อแสดงให้เห็นว่า วรรณคดีร้อยกรองของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีลักษณะเด่นในด้านศิลปะการประพันธ์ทั้งในด้านเสียง คำ และการพรรณนาความซึ่งก่อให้เกิดทั้งความไพเราะและความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ ผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณคดีร้อยกรองของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ทั้งหมด ๑๐ เรื่อง ได้แก่ ลิลิตเพชรมงกุฎ อิเหนาคำฉันท์ กลอนและร่ายจารึกเรื่องสร้างภูเขาที่วัดราชคฤห์ โคลงพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตศรีวิชัยชาดก ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี สมบัติอมรินทร์คำกลอน กากีกลอนสุภาพ เพลงยาวเล่นว่าความ และเพลงยาวปรารภถึงเรื่องวัฏสงสาร จากการศึกษา ปรากฏว่า เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ใช้รูปแบบคำประพันธ์หลากชนิด แต่ละชนิดแต่งได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และยังดีเด่นด้วยการเลือกสรรคำที่นำมาร้อยกรองได้กลมกลืนกับเนื้อหา ส่งสัมผัสได้ไพเราะพอเหมาะพอควร ก่อให้เกิดลีลาและจังหวะในคำประพันธ์ที่หลากหลายด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกันกวีก็ใช้คำที่ง่าย แต่ไพเราะและสื่อความได้ชัดเจนด้วย กวีเพิ่มความไพเราะให้คำประพันธ์ด้วยการเล่นเสียง และ การเล่นคำ การเล่นเสียงนั้น กวีนิยมเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะในลักษณะของสัมผัสคู่อย่างกว้างขวางในคำประพันธ์แทบทุกชนิด ส่วนการเล่นคำ กวีนิยมเล่นคำซ้ำ คำซ้อน และคำพ้อง การเล่นเสียงเล่นคำปรากฏชัดเจนในการใช้กลบท ซึ่งกลบทของท่านส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเพิ่มบังคับสัมผัสคู่และการซ้ำคำ อันเป็นลักษณะเด่นในศิลปะการประพันธ์ของท่านนั่นเอง ศิลปะการประพันธ์เหล่านี้ก่อให้เกิดทั้งความไพเราะ และช่วยเสริมความหมายของคำประพันธ์นั้นๆให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น กวีได้นำการเล่นเสียงเล่นคำและศิลปะการประพันธ์อื่นๆ เช่น ความเปรียบ มาใช้ในการพรรณนาความโดยผ่านลีลาเสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสัลลาปังคพิไสย์ อันแสดงให้เห็นว่า ศิลปะการประพันธ์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การพรรณนาความมีความดีเด่นทั้งในด้านความไพเราะ การสร้างจินตภาพ และให้ความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research aims at studying the art of writing of Chao Phraya Phra Klang (Hon)’s poetical works in order to illustrate the outstanding characteristics of the usage of sounds, words and description that creates a harmonious beauty in his works. The researcher has studied 10 poetical works of Chao Phraya Phra Klang (Hon); Lilit Petch Mongkut, Inao Kham Chan, Klon Lae Rai Jaruek Rueang Sang Phu Kao thi Wat Ratchakrue, Klong Payuhayattra Petch Puang, Lilit Srivichai Jataka, Rai Yao Vessantara Jataka Kanda Kumara and Kanda Matsi, Sombat Amarin Khamklon, Kakie Klon Supap, Pleng Yao Len Wa Khwam and Pleng Yao Prarop Thung Ruang Vatta Samsara. It is clear that Chao Phraya Phra Klang (Hon) uses various types of verse-form, all of them are precise and correct. The language use in his poetry are suitable for the content with pleasant rhymes and melodies. Moreover, the poet uses simple words which are melodious and comprehensive. The poet enhances the beauty of his works by using homonyms and synonyms. The use of homonym, the poet often uses the alphabets rhyme in the form of couple rhyme words in every type of meters. The using of synonyms, the poet often usage reduplicated words, paring words and synonyms. The homonym and synonym often appears in special meter. Mostly from adding rhyme and repetition which is a distinguished characteristics of his works. In his poetic description, the poet also employs four styles of Thai poetic expression that are the expression of the beauty praising, of courting, of anger and of sorrow. It is clear that the art of writing is a distinguished device in contributing an excellence of his poetic expression in all his works. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
พระคลัง (หน), เจ้าพระยา -- การวิจารณ์และการตีความ |
en_US |
dc.subject |
พระคลัง (หน), เจ้าพระยา -- ผลงาน |
en_US |
dc.subject |
วรรณคดีไทย |
en_US |
dc.subject |
ศิลปะการประพันธ์ |
en_US |
dc.subject |
กวีนิพนธ์ไทย |
en_US |
dc.subject |
Thai literature |
en_US |
dc.subject |
Poetics |
en_US |
dc.subject |
Thai poetry |
en_US |
dc.title |
ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีร้อยกรองของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) |
en_US |
dc.title.alternative |
The Art of writing in The Poetry of Chao Phraya Phra Khlang (Hon) |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ภาษาไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |