Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทีมสุขภาพโรงพยาบาลอ่างทอง และเพื่อศึกษาข้อมูล ส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพจิต บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทีมสุขภาพในโรงพยาบาลอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอ่างทองในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลขนาด ตัวอย่างจำนวน 365 คน เครึ่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบคัดกรองภาวะสุขภาพจิตแบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์กับตัวแปรโดย Unpair t-test, ANOVA วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพจิต บุคลิกภาพ ความฉลาดทางอารมณ์โดย Pearson's Product ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างบุคลากรทีมสุขภาพโรงพยาบาลอ่างทองที่ศึกษา จำนวน 365 คน เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 26-40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรีสูงสุด มีสถานภาพคู่ คิดเป็นร้อยละ 53.97 โดยมีประสบการณ์การทำงานอยู่ในช่วง 1 -10 ปี มีลักษณะงานที่ปฏิบัติเป็นระดับผู้ปฏิบัติ พบว่ามีบุคลิกภาพชอบแสดงตัว คิดเป็นร้อยละ 28.22 บุคลิกภาพที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 25.34 บุคลิกภาพแบบอ่อนไหวทางอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 24.66 บุคลิกภาพชอบเก็บตัว คิดเป็น ร้อยละ 21.78 และพบว่าความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรทีมสุขภาพ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าดะแนนเฉลี่ยปกติ ยกเว้น ในกลุ่มอายุ 26-60 ปี ความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับคะแนนเฉลี่ยปกติ องค์ประกอบย่อยความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่ง แรงจูงใจและสัมพันธภาพ องค์ประกอบย่อยความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขและพอใจชีวิตมีคะแนนเฉลี่ยตํ่ากว่าคะแนนเฉลี่ยปกติ บุคลากรทีมสุขภาพ อายุ18-25 ปี มีภาวะสุขภาพจิตสัมพันธ์ทางบวกในระตับสูงกับความฉลาดทางอารมณ์ (r =.857) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ p<0.01 เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสประสบการณ์การทำงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีความเกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์ภาพอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 บุคลิกภาพแสดงตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระตับระตับสูง (r =.655) บุคลิกภาพแบบอ่อนไหวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความฉลาดทางอารมณ์ (r =.591)อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ ระตับ p<0 .01 บุคลากรทีมสุขภาพ อายุ 26-60 ปี มีภาวะสุขภาพจิตสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความฉลาดทางอารมณ์ (r =.962) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ p<0.01 เพศ อายุ ระดับการคิกษา ลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีความเกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 สถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงาน มีความเกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต p<0.01 บุคลิกภาพแสดงตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับระดับสูง (r =.475) บุคลิกภาพแบบอ่อนไหวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความฉลาดทางอารมณ์ (r =.527) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ p<0 .01