DSpace Repository

โอกาสในการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาล ในมุมมองของผู้รับบริการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
dc.contributor.advisor พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
dc.contributor.author วันดี หาญโยธา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-15T05:53:19Z
dc.date.available 2020-05-15T05:53:19Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741748345
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65786
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract ความเป็นมา : คุณภาพของบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ ซึ่งเป้าสำคัญ คือ การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้รับบริการ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาโอกาสในการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาล จากความคาดหวัง และการรับรู้เกี่ยวกับคุณภาพ ในมุมมองของผู้รับบริการและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง ประชากรที่ศึกษา : ผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน จากโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน 39 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ตามเขตราชการส่วนภูมิภาค 12 เขต และในส่วนกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบ Multi-Stage Sampling จำนวน 1604 ราย การรวบรวมข้อมูล : เดือนพฤศจิกายน 2546 ถึงกุมภาพันธ์2547 อัตราตอบกลับ 97.92% สถิติที่ใช้ : สถิติเชิงพรรณนา Chi-square Test, Mann Whitney บ Test และ Multiple logistic Regression ผลการศึกษา : ความคาดหวังที่มากที่สุดของผู้รับบริการในมิติโครงสร้าง ได้แก่ การได้รับบริการจากพยาบาลที่มีทักษะที่ดี (96.4%) ในมิติกระบวนการ ได้แก่ การได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับโรคและการรักษาอย่างเพียงพอ (96.3%) และด้านมิติผลลัพธ์ ได้แก่ การได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยไม่ผิดพลาด (96.9%) ทั้งนี้ประเภทของโรงพยาบาลมิความสัมพันธ์กันความคาดหวัง ทั้ง3 มิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P ≤ 0.05 ) คุณภาพที่ผู้รับบริการคาดหวังมากที่สุดแต่การรับรู้น้อยกว่าความคาดหวัง ในมิติโครงสร้าง คือ การมีโทรศัพท์สายด่วนไว้ปรึกษาปัญหาสุขภาพ (52.7%) โดยปัจจัยที่มิความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) ได้แก่ ประเภทของโรงพยาบาล เพศ อาชีพ สิทธิในการรักษา ความรุนแรงของการเจ็บป่วยและประสบการณ์ในการมารับบริการ และในมิติกระบวนการ ได้แก่ การได้รับการแจ้งค่าใช้จ่ายให้ทราบล่วงหน้า (56.3%) โดยปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P ≤ 0.05) ได้แก่ ประเภทของ โรงพยาบาล อายุ ระตับการศึกษา อาชีพ รายจ่ายในครอบครัว สิทธิในการรักษา เหตุผลในการมารับบริการ ลักษณะการเจ็บป่วย และประสบการณ์ในการบริการ สำหรับมิติผลลัพธ์ ได้แก่ การได้รับคำแนะนำจนสามารถดูแลตนที่บ้านได้ ( 11.1%) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P ≤ 0.05) ได้แก่ ระดับการศึกษา เหตุผลในการมารับบริการ ลักษณะการเจ็บป่วย และความรุนแรงของการเจ็บป่วยข้อเสนอแนะ โอกาสในการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การมีพยาบาลที่มีทักษะดีในการให้บริการ การได้รับการอธิบายจากแพทย์ การรักษาอย่างปลอดภัย การมีโทรศัพท์สายด่วน การแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษา และคำแนะนำในการดูแลตนเองที่บ้าน
dc.description.abstractalternative Background: Quality of health care services in hospitals is among important components of the country’s health systems development, particularly the reponsiveness to customers' expectation. Objective: The study objectives were to describe the expectations and perceptions on aspects of hospitals’s health care survices from customers’ perspective, and related factors. Research Design: Cross-Sectional Descriptive Study. Population and sample: 1604 customers of out-patient and in-patient dapartments of 39 public and private hospitals in the administrative areas of the Ministry of Public Health and the Bangkok area, randomly selected by a multi-stage sampling technique. Data Collection: November 2003-February 2004.The response rate was 97.72% Statistical Method: Descriptive statistics, Chi-square test, ManrvWhitney U test and Multiple logistic regression. Result : The highest expectations among the sample from the structural dimension, the process dimension and the outcome dimension of quality were on nurses’ skill (96.4%) .explanation related to diseases and treatments (96.3%) and patient care safety (96.9%), respectively. The type of hospitals were found significantly associated with all three quality dimensions of expectation. The highly expected quality of care that were percieved to be provided at level less than expected in the structural dimension was the health hotline phone (52.7%). The significant associated factors with the perception were the type of hospitals 1sex, occupation, health insurance status, severity of illness and usage experience (p’s< 0.05). The less- than- expected perception in the process dimension was the estimation of care expense in advance (56.3%), which was related to type of hospitals, age 1education,occupation,family expanse, health insurrance status, reasons to seek care, types of illness and usage experience (p’s< 0.05). Ability to do self-care at home was the least percieved outcome dimension of care(11.1%) .which were associated with education, reason to seek care, type of illness and severity of illness. Recommend: Opportunities for improvement on quality of health care system in hospitals include health hotline phone, nurses, skill, physicians, explanation, patient safety, estimatation of care expenses and patient self-care.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข -- ไทย en_US
dc.subject การบริหารสาธารณสุข -- ไทย en_US
dc.subject โรงพยาบาล -- ไทย en_US
dc.subject Health care reform -- Thailand en_US
dc.subject Public health administration -- Thailand en_US
dc.subject Hospitals -- Thailand en_US
dc.title โอกาสในการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาล ในมุมมองของผู้รับบริการ en_US
dc.title.alternative Opportunities for improvement on quality of health care system in hospitals from consumer' perspectives en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เวชศาสตร์ชุมชน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Jiruth.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor Pornchai.Si@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record