Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาช่วยวิเคราะห์ให้เห็นถึงศักยภาพของการปลูกทานตะวันในจังหวัดลพบุรี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ เพื่อประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ต่อการปลูกทานตะวันด้วยการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และวิเคราะห์ระบบการผลิตตลอดจนศักยภาพการเพิ่มผลผลิตทานตะวัน ภูมิสารสนเทศที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ภาพจากดาวเทียม เครื่องกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) และได้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทำการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกทานตะวัน โดยทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมของดินและความเหมาะสมของน้ำ กำหนดเป็นพื้นที่ความเหมาะสมทางกายภาพ ส่วนการกำหนดศักยภาพของการปลูกทานตะวัน และการคำนวณผลตอบแทนในการเพาะปลูก ได้จากข้อมูลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางกายภาพของพื้นที่ พื้นที่ปลูกทานตะวัน และจำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อไร จากการวิจัยพบว่า ในปี 2543 จังหวัดลพบุรีมีการปลูกทานตะวันเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 64.835 ไร่ อำเภอที่มีพื้นที่ปลูกทานตะวันในระดับที่ 1 คือ อำเภอที่มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 8,000 ไร่ ได้แก่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม และอำเภอหนองม่วง ในการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของพื้นที่พบว่า พื้นที่ในจังหวัดลพบุรีประมาณ 238.187 ไร่ มีความเหมาะสมที่สุดในการปลูกทานตะวัน ส่วนอำเภอที่มีจำนวนผลผลิตต่อไร่อยู่ในระตับที่ 1 คือ มากกว่า 110 กิโลกรัมต่อไร่ ได้แก่ อำเภอชัยบาดาล และอำเภอพัฒนานิคม จากการวิจัยสามารถประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกทานตะวันของจังหวัดลพบุรี ได้ดังนี้ อำเภอที่มีศักยภาพในระดับที่ 1 คือ อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม และอำเภอหนองม่วง อำเภอที่มีศักยภาพในระดับที่ 2 คือ อำเภอท่าหลวง อำเภอโคกเจริญ และอำเภอลำสนธิ อำเภอที่มีศักยภาพในระดับที่ 3 คือ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอท่าวุ้ง อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอสระโบสถ์ อำเภอที่มีศักยภาพในการปลูกทานตะวันทั้ง 3 ระดับ มิรายได้เฉลี่ย 709 บาทต่อไร่ 526 บาทต่อไร่ และ 447 บาทต่อไร่ ตามลำดับ