Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65856
Title: | ศักยภาพของการปลูกทานตะวันในจังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Potential of sunflower cultivation in Changwat Lop Buri |
Authors: | วาสนา ตันติอนุภาพ |
Advisors: | ผ่องศรี จั่นห้าว สุพรรณ กาญจนสุธรรม |
Advisor's Email: | Pongsri.C@Chula.ac.th, pongsric@hotmail.com ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ทานตะวัน -- การปลูก -- ไทย -- ลพบุรี ดิน -- ไทย -- ลพบุรี ที่ดินเพื่อการเกษตร -- ไทย -- ลพบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เขตพื้นที่เพาะปลูก Sunflowers -- Thailand -- Lop Buri Soils -- Thailand -- Lop Buri Land capability for agriculture -- Thailand -- Lop Buri Remote sensing Global Positioning System Geographic information systems Crop zones |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาช่วยวิเคราะห์ให้เห็นถึงศักยภาพของการปลูกทานตะวันในจังหวัดลพบุรี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ เพื่อประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ต่อการปลูกทานตะวันด้วยการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และวิเคราะห์ระบบการผลิตตลอดจนศักยภาพการเพิ่มผลผลิตทานตะวัน ภูมิสารสนเทศที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ภาพจากดาวเทียม เครื่องกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) และได้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทำการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกทานตะวัน โดยทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมของดินและความเหมาะสมของน้ำ กำหนดเป็นพื้นที่ความเหมาะสมทางกายภาพ ส่วนการกำหนดศักยภาพของการปลูกทานตะวัน และการคำนวณผลตอบแทนในการเพาะปลูก ได้จากข้อมูลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางกายภาพของพื้นที่ พื้นที่ปลูกทานตะวัน และจำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อไร จากการวิจัยพบว่า ในปี 2543 จังหวัดลพบุรีมีการปลูกทานตะวันเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 64.835 ไร่ อำเภอที่มีพื้นที่ปลูกทานตะวันในระดับที่ 1 คือ อำเภอที่มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 8,000 ไร่ ได้แก่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม และอำเภอหนองม่วง ในการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของพื้นที่พบว่า พื้นที่ในจังหวัดลพบุรีประมาณ 238.187 ไร่ มีความเหมาะสมที่สุดในการปลูกทานตะวัน ส่วนอำเภอที่มีจำนวนผลผลิตต่อไร่อยู่ในระตับที่ 1 คือ มากกว่า 110 กิโลกรัมต่อไร่ ได้แก่ อำเภอชัยบาดาล และอำเภอพัฒนานิคม จากการวิจัยสามารถประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกทานตะวันของจังหวัดลพบุรี ได้ดังนี้ อำเภอที่มีศักยภาพในระดับที่ 1 คือ อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม และอำเภอหนองม่วง อำเภอที่มีศักยภาพในระดับที่ 2 คือ อำเภอท่าหลวง อำเภอโคกเจริญ และอำเภอลำสนธิ อำเภอที่มีศักยภาพในระดับที่ 3 คือ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอท่าวุ้ง อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอสระโบสถ์ อำเภอที่มีศักยภาพในการปลูกทานตะวันทั้ง 3 ระดับ มิรายได้เฉลี่ย 709 บาทต่อไร่ 526 บาทต่อไร่ และ 447 บาทต่อไร่ ตามลำดับ |
Other Abstract: | In this work, we propose a method that uses geographic information system (G:S) to analyze the potential of sunflower cultivation in Changwat Lop Buri. This project has two goals: 1) to evaluate and analyze land suitability using G.S and 2) to use the result to predict the increase in sunflcwer cultivation. The geoinformatics tools used in our work consist of satellite images and the Global Position System (GPS). We estimate the land suitability for cultivation by analyzing soil and water suitability and use them to define the physical suitability. To estimate the potential for sunflower cultivation and the estimated returns, we analyze land suitability, the cultivation area and the average production per rai. Our research has shown that in 2000, the sunflower cultivation in Lop Buri covered the area of 64.835 rai. The Amphoe with the largest area (> 8,000 rai) are Amphoe Kok Sumrong , Amphoe Chai Badan , Amphoe Phatthana Nikom and Amphoe Nong Muang. Our estimation of land suitability has shown that there are 238,187 rai in Lop Buri with the highest land suitability. The Amphoe with the highest production (> 110 Kg/rai) are Amphoe Chai Badan and Amphoe Phatthana Nikom. In this research , we categorize areas for cultivation in Lop Buri into three groups according to their potential degrees. The highest potential group consists of Amphoe Kok Sumrong Amphoe Chai Badan. Amphoe Phatthana Nikom and Amphoe Nong Muang. The second highest potential group includes Amphoe Tha Luang , Amphoe Kok Charoen and Amphoe Lam Sonthi . The third highest potential group consists of Amphoe Muang Lop Buri , Amphoe Tha Wung , Amphoe Ban Ml and Amphoe Sa bot .The average incomes for each group are 690. 526 and 447 Bahurai respectively |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภูมิศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65856 |
ISBN: | 9740306934 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wasana_ta_front_p.pdf | 794.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wasana_ta_ch1_p.pdf | 685.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wasana_ta_ch2_p.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wasana_ta_ch3_p.pdf | 910.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wasana_ta_ch4_p.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wasana_ta_ch5_p.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wasana_ta_ch6_p.pdf | 674.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wasana_ta_back_p.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.