การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความเหมือน หรือความแตกต่างกัน อย่างไร ระหว่างการพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหอพักมหาวิทยาลัยและที่พักอาลัยเอกชน ในด้านสภาพปัจจุบันของการพักอาศัย ลักษณะทั่วไปของผู้พักอาลัย สภาพทางกายภาพของที่พักอาศัยและองค์ประกอบภายในห้องพัก ความต้องการที่พักอาศัย เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดในการพัฒนาที่พักอาศัยของนักศึกษา ระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิธีการสำรวจและรวบรามข้อมูลด้วยแบบ สอบถาม และการสำรวจภาคสนาม ด้านข้อมูลทั่วไปของผู้พักอาศัย พบว่าในหอพักมหาวิทยาลัย นักศึกษากลุ่มที่มากที่สุดเป็นนักศึกษาหญิง ที่กำลังศึกษาในคณะที่มีระบบการเรียนการสอนในเวลาปกติ นักศึกษากลุ่มที่มากที่สุดมีพื้นฐานมาจากครอบครัวเกษตรกรรม มีระดับรายได้ครัวเรือนปานกลางถึงรายได้ตํ่า ระหว่างที่ศึกษานักศึกษาต้องช่วยเหลือและดูแลตนเองให้มากที่สุด ส่วนในที่พักเอกชน นักศึกษากลุ่มที่มากที่สุดเป็นนักศึกษาชาย ศึกษาในคณะที่ต้องมีการเรียนหรือกิจกรรมนอกเวลาเป็นประจำ มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจของครัวครัวปานกลางถึงสูงด้านสภาพการพักอาศัย พบว่านักศึกษาที่พักในหอพักมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายที่ตํ่ามาก เพราะเป็นสวัสดิการของมหาวิทยาลัย แต่นักศึกษาจะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการพักอาศัยมากนัก นักศึกษาพักรวมกัน 3-4 คน/ห้อง และไม่สนิทสนมกันมาก่อน ส่วนในที่พักเอกชน นักศึกษามีค่าใช้จ่ายด้านที่พักที่สูง แต่มีความสุขสบาย นักศึกษาเข้าพัก 1-2 คน/ห้อง ส่วนใหญ่เป็น เพื่อนกันมาก่อน ด้านสภาพทางกายภาพของที่พักอาศัย พบว่า หอพักมหาวิทยาลัยที่ทำการศึกษา ทั้งหมด 21 หลัง ก่อสร้างตามแบบก่อสร้างชุดเดียวกัน มีพื้นที่ห้อง 9.00-12.00 ตารางเมตร ซึ่งค่อนข้างแออัดสำหรับการเข้าพัก 3-4 คน/ห้อง ที่พักเอกชนมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย พื้นที่ห้อง 15.00-20.00 ตารางเมตรมีผู้เข้าพัก 1-2 คน ซึ่งค่อนข้างเหมาะสมไม่แออัด ด้านองค์ประกอบในอาคารที่พัก พบว่า หอพักมหาวิทยาลัยมีการจัดหาสิ่งบริการและอำนวยความสะดวกที่ค่อนข้างครบทุกประเภท และจัดไว้อย่างละหนึ่งชุดแต่ใช้รวมกันทั้งหอพักซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนผู้เข้าพัก สำหรับในที่พักเอกชนพบว่า เจ้าของอาคารจัดหาเฉพาะบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ สิ่งอำนวยความสะดวกแยกเป็นเฉพาะแต่ละห้องพักไม่ใช้รวมกัน ด้านความต้องการที่พักอาศัย พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ในที่พักทั้งสองมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า หอพักมหาวิทยาลัยเป็นที่พักที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนักศึกษา แต่ควรปรับ ปรุงการบริหารจัดการให้การพักอาศัยมีความสุขสบายเหมือนที่พักเอกชน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่าที่พักอาศัยทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในลามประเด็นคือ 1.วัตถุประสงค์การจัดตั้งโดยที่มหาวิทยาลัยมุ่งจัดตั้งเพื่อเป็นสวัสดิการแก่นักศึกษา ในขณะที่ที่พักเอกชนมุ่งหวังผลกำไรทางธุรกิจ 2. สภาพการให้บริการและการตอบสนองความต้องการของผู้พักอาศัย หอพักมหาวิทยาลัย จัดเก็บค่าเช่าที่ตํ่ามาก มีกฎระเบียบที่เคร่งครัด มีสิ่งอำนวยความ สะดวกและบริการที่เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพัฒนาการทางการศึกษาและสังคมของนักศึกษา การให้บริการของหอพักมีลักษณะกึ่งให้เปล่า ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การปรับปรุงพัฒนามีน้อยการตอบสนองความต้องการของผู้พักอาศัยและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นไปอย่างจำกัดและล่าช้าซึ่งตรงข้ามกับเอกชนที่มุ่งพัฒนาการบริการเพื่อผลกำไรทางธุรกิจ 3. ลักษณะของผู้พักอาศัยด้านนความแตกต่างของวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง และการดำเนินงาน ของที่พักอาศัยทั้งสอง ทำให้ที่พักทั้งสองมีความเหมาะสมกับกลุ่มนักศึกษาผู้พักอาศัยที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการพัฒนาที่พักอาศัยของนักศึกษา โดยการผสมผสานระหว่าง หอพักสวัสดิการและการดำเนินธุรกิจโดยการร่วมทุนกับเอกชนในการจัดสร้างหอพักเพิ่ม จัดแบ่งค่าเช่า และปรับปรุงการบริหารจัดการของกองกิจการหอพักให้ทัดเทียมกับภาคเอกชน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความไว้วางใจระหว่างบุคคล ความผูกใจมั่นต่อองค์การ และการรับรู้คุณค่าของการปันความรู้ระหว่างกัน ที่มีต่อ การปันความรู้ระหว่างกันในองค์การเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความไว้วางใจระหว่างบุคคล มาตรวัดความผูกใจมั่นต่อ องค์การ มาตรวัดการรับรู้คุณค่าของการปันความรู้ระหว่างกัน และมาตรวัดการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน259 คน ผลการวิจัย พบว่า ความไว้วางใจระหว่างบุคคลมีผลทางบวกต่อ การปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ (β = .61, p < .001) ความผูกใจมั่นต่อองค์การมีผลทางบวกต่อการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ (β = .18, p < .01) และการรับรู้คุณค่าของการปันความระหว่างกันมีผลทางบวกต่อการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ (β = .55, p < .001) นอกจากนี้ความผูกใจมั่นต่อ องค์การสามารถเป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจระหว่างบุคคลกับการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ และสามารถเป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าของการปันความระหว่างกันกับการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ