Abstract:
ความเป็นมาของปัญหา พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชเป็นกลุ่มที่ให้บริการด้านสุขภาพจิตและดูแลผู้ป่วยจิตเวช ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น ความคาดหวังต่อคุณภาพบริการที่สูงขึ้น ตลอดจนการปฏิรูปภาครัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจของพยาบาลซึ่งต้องรับภาระที่หนักขึ้น ดังนั้นการดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่สำกัญยิ่ง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพทั่วไป ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพและภาวะซึมเศร้าของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต ในเขตภาคกลาง รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรที่ศึกษา พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวช 4 แห่ง จำนวน 589 คน เครื่องมือวิจัย แบบประเมินภาวะสุขภาพทั่วไป (SF-36) แบบสอบถามปัญหาสุขภาพเพื่อตรวจวัดหาโรคซึมเศร้า (Health-Related Self-Reported (HRSR) Scale และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ชนิดตอบเองที่ผ่านการทดสอบแล้ว การรวบรวมข้อมูล เดือนธันวาคม2546-มีนาคม 2547 ได้รับแบบสอบถามส่งกลับคืนจำนวน 506 คน (85.9%) สถิติที่ใช้ Chi-square test ผลการวิจัย พยาบาลผู้ตอบกลับส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง (87.5%) อายุระหว่าง 21-4รปี (71.8%) สถานภาพสมรสคู่ (61.5%) เป็นพยาบาลวิชาชีพ(68.0%) ปฏิบัติงานในคลินิก (70.8%) ผ่านการอบรมเฉพาะทางจิตเวช (70.8%) และประสบการณ์งานพยาบาลจิตเวชมากกว่า 10 ปี (64.4%) รายได้รวมมากกว่า 10,000 บาท (75%) ผลการสำรวจภาวะสุขภาพทั่วไปของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวช พบว่า ภาวะสุขภาพทั่วไปอยู่ในระดับดีเยี่ยม, ดีและไม่ดี ร้อยละ 26.3, 24.7, 49.0 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยในด้าน เพศ, อายุ, บทบาทความรับผิดชอบในงาน, การตรวจสุขภาพประจำปี, การใช้ยานอนหลับ, การออกกำลังกาย, การรับประทานอาหาร,โอกาสก้าวหน้าในงาน, ความขัดแย้งกับผู้บังกับบัญชา, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, สถานที่อาศัย, บรรยากาศความสัมพันธ์ในครอบครัว, รายได้เทียบกับรายจ่าย, การหาเลี้ยงครอบครัวโดยลำพัง มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) โดยมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 63% และระบุไม่สามารถทนต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ 12.1% ส่วนผลการสำรวจภาวะซึมเศร้า พบว่ามีอัตราความชุก 2.6% โดยมีภาวะเครียดและซึมเศร้าที่ควรได้รับการรักษา 1.0% มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง 1.6% และจะพบภาวะซึมเศร้าสูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีถึง 5.2% สรุป ผลการศึกษาแสดงทั้งสภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพยาบาลในโรงพยาบาลจิตเวช ว่าสมควรได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบกับภาวะสุขภาพ ผู้บริหารในทุกระดับขององค์กร ควรให้ความสำคัญและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล เพื่อเป็นแบบอย่างการพัฒนาองค์กรอันจะส่งผลต่อคุณภาพงานพยาบาลและประสิทธิภาพขององค์กรต่อไป