DSpace Repository

ผลของการใช้เบ็นซ์มารค์กิ้งในการพัฒนาการทำงานในทีมการพยาบาล ต่อคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
dc.contributor.author อรพรรณ นคราวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-19T07:56:58Z
dc.date.available 2020-05-19T07:56:58Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741738218
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65889
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลก่อนและหลังการใช้เบ็นช์มาร์คกิ้งในการพัฒนาการทำงานในทีมการพยาบาล กับคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลที่มีการทำงานเป็นทีมการพยาบาลตามปกติและทีมการพยาบาลที่มีการทำงานเป็นทีมที่ดีที่สุด และเปรียบเทียบคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลก่อนและหลังการใช้เบ็นช์มาร์คกิ้งในการพัฒนาการทำงานในทีมการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการพยาบาลจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างของแต่ละกลุ่มมีจำนวน 12, 15 และ 15 คนตามลำดับ แบบสอบถามคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลผู้วิจัยได้สร้างขึ้นซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และสถิติทดสอบที (Dependent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ก่อนการทดลอง คะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลของกลุ่มที่มีการทำงานเป็นทีมที่ดีที่สุดสูงกว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าไม่แตกต่าง 2. ภายหลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลระหว่างกลุ่มที่มีการทำงานเป็นทีมที่ดีที่สุดและกลุ่มทดลอง พบว่าไม่แตกต่าง ส่วนคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. คะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาลของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
dc.description.abstractalternative The purposes of this quasi-experiment research were to compare the service quality of nursing team among the experimental group which using benchmarking for team development in nursing team, the control group which working on conventional nursing team method and the benchmark group which working on best practice of nursing team, and to compare the service quality of nursing team before and after using benchmarking for team development in nursing team. The research sample of the three groups were nursing personnel. The number of nursing personnel in each group was composed of 12, 15 and 15 respectively. The service quality of nursing team questionnaire was developed by the researcher and judged by the panel of experts. The Cronbach alpha coefficient of reliability was .89. Statistical techniques that had been used for data analysis were One-way ANOVA and dependent t-test statistics. Major findings were as follows: 1. Before intervention, the mean score on service quality of nursing team of the benchmark group was significantly higher than the experimental group and the control group at the .001 level, but there were no significant differences between the experimental group and the control group. 2. After intervention, there were no significant differences in service quality of nursing team between the benchmark group and the experimental group, while the mean score of the experimental group was significantly higher than the control group at the .001 level. 3. The mean score on service quality of nursing team in the experimental group after intervention was significantly higher than before intervention at the .001 level.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การพยาบาลเป็นทีม en_US
dc.subject การควบคุมคุณภาพ en_US
dc.subject การเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ) en_US
dc.subject Team nursing en_US
dc.subject Quality control en_US
dc.subject Benchmarking ‪(Management)‬ en_US
dc.title ผลของการใช้เบ็นซ์มารค์กิ้งในการพัฒนาการทำงานในทีมการพยาบาล ต่อคุณภาพการบริการของทีมการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า en_US
dc.title.alternative Relationships between personal factors, career commitment, social resources, and career success of professional nurses, governmental hospitals, Bangkok Metropolis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การบริหารการพยาบาล en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Boonjai.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record