Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับเชาว์อารมณ์ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งของภาครัฐบาลและ ภาคเอกชน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคิรนทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มีจำนวนทั้งสิ้น 667 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบสลอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดเชาว์อารมณ์ แบบวัดการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งพัฒนารูปแบบการวิจัยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของ Baum rind แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองแบบวัดความเครียดและแบบวัดการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธีการนำเข้าทุกตัวพร้อมกัน (Enter Method) ผลการวิจัยพบว่า มีตัวแปรจำนวน 5 ตัวแปรจากทั้งหมด 10 ตัวแปรที่ลามารถอธิบายความแปรปรวนของเชาวน์อารมณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยได้ร้อยละ 23.9 ซึ่งได้แก่ปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี 2) การเห็นคุณค่าในตนเอง 3) การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา 4) การอบรมเลี้ยงดูแบบรักเอาใจใส่ และ 5) การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลย