DSpace Repository

ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ของตัวแบบแผนการทดลองจัตุรัสละติน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพล ดุรงค์วัฒนา
dc.contributor.author ขวัญชีวา พุทธเกษม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2020-05-24T20:55:47Z
dc.date.available 2020-05-24T20:55:47Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.issn 9741768877
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65972
dc.description วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ของแผนการทคลอง 2 แผน คือ แผนการทดลองจัตุรัสละตินและแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดในบล็อกสมบูรณ์ ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการจำลองข้อมูลจากเทคนิคมอนติคาร์โลด้วยโปรแกรม S-PLUS 2000 โดยกำหนดให้จำนวนวิธีทดลองที่ใช้ทดลองเท่ากับ 3 5 และ 7 และสัมประสิทธิ์ความแปรผันเท่ากับ 10% 20% และ 30% โดยที่ระดับนัยสำคัญที่ศึกษา คือ 0.01 และ 0.05 กำหนดให้ระดับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทคลอง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการหาหน่วยทดลอง ค่าใช้จ่ายในการให้วิธีทดลอง ค่าเสียโอกาสเมื่อปฏิเสธสิ่งที่ถูกต้อง และค่าเสียโอกาสเมื่อยอมรับสิ่งที่ผิด โดยให้แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ ระดับตํ่า หมายถึง ค่าในตำแหน่ง ควอไทล์ที่ 1 และระดับสูง หมายถึง ค่าในตำแหน่ง ควอไทล์ที่ 3 ของช่วงค่าใช้จ่ายต่างๆ เกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ของแผนการทคลอง คือ ค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายในการทดลองที่ตํ่ากว่า จะถือว่ามีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์มากกว่า โดยทำการศึกษา 2 กรณี คือ เมื่อสมมติฐานว่างเป็นจริงและเมื่อสมมติฐานว่างไม่เป็นจริงได้ผลสรุปดังนี้ ค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทดลองเมื่อสมมติฐานว่างเป็นจริง พบว่าทุกกรณีค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทดลองของแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดในบล็อกสมบูรณ์น้อยกว่าแผนการทดลองจัตุรัสละติน เนื่องจากแผนการทคลองสุ่มตลอดในบล็อกสมบูรณ์มีเหมาะสมกับข้อมูลที่มีความสม่ำเสมอมากกว่าแผนการ ทดลองจัตุรัสลาติน ค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทดลอง เมื่อสมมติฐานว่างไม่เป็นจริง พบว่าเมื่อความแตกต่างระหว่างอิทธิพลของวิธีทดลองแตกต่างกันน้อยละปานกลาง ทุกกรณีค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทดลองของแผนการทดลองจัตุรัสละตินมีแนวโน้มที่จะน้อยกว่าแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดในบล็อกสมบูรณ์ เนื่องจากแผนการทดลองจัตุรัสละตินมีความละเอียดในการตรวจสอบความแตกต่างได้มากกว่าแผนการทดลองสุ่มตลอดในบล็อกสมบูรณ์ จึงสามารถตรวจสอบความแตกต่างที่มีอยู่น้อยได้ดีกว่า และเมื่อความแตกต่างระหว่างอิทธิพลของวิธีทดลองมความแตกต่างกันมาก ค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทดลองของทั้ง 2 แผนการทดลองจะมีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันเมื่อวิธีทดลองเท่ากับ 5 และ 7 เนื่องจากแผนการทดลองจัตุรัสละตินที่มีความละเอียดในการตรวจสอบมากหรือแผนการทดลองสุ่มตลอดในบล็อกสมบูรณ์ที่มีความละเอียดในการตรวจสอบน้อยกว่า ต่างก็สามารถตรวจสอบความแตกต่างที่มีอยู่ได้ดีเท่า ๆ กัน และเมื่อวิธีลดลองเท่ากับ 3 แผนการทดลองแบบสุ่มตลอดในบล็อกสมบูรณ์จะมีค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทดลองมีแนวโน้มที่จะน้อยกว่าแผนการทดลองจัตุรัสละติน เนื่องจากแผนการทดลองจัตุรัสละตินมีระดับความเป็นเสรีของความคลาดเคลื่อนของการทดลองน้อยเกินไปจึงทำให้มีอำนาจการทดสอบน้อย
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study and compare economic - based efficiency of 2 designs, Latin Square Design and Randomized Completely Block Design. To generate the data for this study, the Monte Carlo simulation technique is done using S-PLUS 2000 Professional. The number of treatments are specified to be 3,5 and 7. The coefficients of variation are specified to be 10%, 20% and 30%. The significance levels forthis study are 0.01 and 0.05. Cost of experimental design are cost of experimental unit, cost of treatment, opportunity cost when accept Ho but Ho is false, and opportunity cost when Ho is rejected if it is true. Then 4 cost of experiment are set to have 2 levels, low and high. The low level is the 1st quartile and the high is the 3rd quartile of the interval of the cost of experiment. The lower expectation of cost of experimental designs is considered to be more effective economic than the higher one. The expectation of cost of experimental designs when the null hypothesis is true and false are a measure for comparison for both designs. The results of thisstudy can be summarized as follows: In all cases, the expectation of cost of experimental design when null hypothesis is true, Randomized Completely Block Design gives expectation of cost of experimental design less than Latin Square Design since Randomized Completely Block Design is appropriate for the data rather than Latin Square Design. As for the expectation of cost of experimental design when null hypothesis is false, when the difference of treatment effects are less and medium, Latin Square Design gives the expectation of cost lower than Randomized Completely Block Design since the Latin Square Design is more precise than Randomized Block Design. When the difference of treatment effects is high, both design gives approximately the same expectation of cost at the number of treatment being 5 and 7, because both design can similarly check for the difference. But in case if the number of treatment is 3, Randomized Completely Block Design gives expectation of cost less than Latin Square Design since Latin Square Design renders too few degrees of freedom of error term.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.376
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การออกแบบการทดลอง en_US
dc.subject การทดลองแบบสุ่มภายในบล็อค en_US
dc.subject Experimental design en_US
dc.subject Randomized block design en_US
dc.subject Magic squares en_US
dc.title ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ของตัวแบบแผนการทดลองจัตุรัสละติน en_US
dc.title.alternative Economic-based efficiency of latin square design model en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สถิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สถิติ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Supol.D@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2004.376


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record