dc.contributor.advisor |
ธีระพร อุวรรณโณ |
|
dc.contributor.author |
ทิพย์นภา หวนสุริยา, 2521- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2006-05-26T13:22:04Z |
|
dc.date.available |
2006-05-26T13:22:04Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.isbn |
9741760175 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของสถานการณ์กลุ่มที่มีองค์ประกอบความเป็นกลุ่มน้อยที่สุด ที่มีต่อความลำเอียงระหว่างกลุ่มที่วัดโดยนัยและโดยตรง ตลอดจนความลำเอียงในการตัดสินผลงานของคนในกลุ่มตนและกลุ่มอื่น และบทบาทของความต้องการทางปัญญาในการปรับแก้ความลำเอียงที่เกิดขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 164 คน ที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วว่าเป็นกลุ่มที่มีความต้องการทางปัญญาสูงและต่ำอย่างละครึ่ง ผู้วิจัยสร้างสถานการณ์กลุ่มที่มีองค์ประกอบความเป็นกลุ่มน้อยที่สุดด้วยการให้ผู้ร่วมการทดลองท่องจำรายชื่อบุคคล 2 กลุ่ม ซึ่งผู้ร่วมการทดลองได้จับฉลากชื่อกลุ่มเพื่อนำชื่อของตนใส่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งด้วย จากนั้นผู้ร่วมการทดลองทำแบบทดสอบการเชื่อมโยงโดยนัยที่ประกอบด้วยสิ่งเร้า 2 ชุด ได้แก่ชื่อบุคคลในกลุ่มตนและในกลุ่มอื่น และคำคุณศัพท์บรรยายลักษณะบุคคลทางบวกและทางลบ แล้วจึงให้ประเมินคุณลักษณะและเจตคติที่มีต่อคนทั้งสองกลุ่ม สุดท้ายผู้ร่วมการทดลองประมาณครึ่งหนึ่งได้อ่านเรียงความที่ลงชื่อผู้เขียนซึ่งเป็นชื่อบุคคลในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งได้อ่านเรียงความที่ลงชื่อผู้เขียนซึ่งเป็นชื่อบุคคลในกลุ่มอื่น แล้วให้ประเมินเรียงความดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า 1. ในรอบที่ชื่อบุคคลในกลุ่มตนเชื่อมโยงกับคุณลักษณะทางบวก ผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาสูงและผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาต่ำสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการกดปุ่มเพื่อจัดประเภทคำดังกล่าวได้เร็วกว่าในรอบที่ชื่อบุคคลในกลุ่มอื่นเชื่อมโยงกับคุณลักษณะทางบวก 2. ผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาสูงและผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาต่ำมีคะแนนจากการทดสอบการเชื่อมโยงโดยนัยที่แสดงถึงความลำเอียงระหว่างกลุ่มโดยนัยเข้าข้างกลุ่มตนไม่แตกต่างกัน 3. ผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาสูง และผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาต่ำมีคะแนนเจตคติที่วัดโดยตรงต่อกลุ่มตนสูงกว่าคะแนนเจตคติที่วัดโดยตรงต่อกลุ่มอื่น 4. ผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาสูงและผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาต่ำมีคะแนนความลำเอียงระหว่างกลุ่มที่วัดโดยตรงไม่แตกต่างกัน 5. ในกลุ่มผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาสูง คะแนนความลำเอียงระหว่างกลุ่มที่วัดโดยนัยไม่มีสหสัมพันธ์กับคะแนนความลำเอียงระหว่างกลุ่มที่วัดโดยตรง 6. ในกลุ่มผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาต่ำ คะแนนความลำเอียงระหว่างกลุ่มที่วัดโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7. ผู้ที่ความต้องการทางปํญญาสูงมีเจตคติต่อเรียงความที่รับรู้ว่าเป็นผลงานในกลุ่มตนไม่แตกต่างจากผู้ที่มีความทางปัญญาสูงที่รับรู้ว่าเรียงความนั้นเป็นผลงานของคนในกลุ่มอื่น 8. ผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาต่ำมีเจตคติต่อเรียงความที่รับรู้ว่าเป็นผลงานของคนในกล่มตนสูงกว่าผู้ที่ต้องการทางปัญญาต่ำที่รับรู้ว่าเรียงความนั้นเป็นผลงานของคนในกลุ่มอื่น |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this thesis were to study the influence of minimal group situation on implicit and explicit measures of intergroup bias as well as the bias in judging the performance of ingroup and outgroup and to study the role of the persons' need for cognition in moderating such influence. Paticipants were 164 Chulalongkorn University undergraduate students who were classified as having high or low need for cognition. To manipulate participants into minimal group situation, each participant was asked to remember four outgroup names and four ingroup names in which his or her own name was included. Then each participant took the Implicit Association Test with two sets of stimuli; one being the names of ingroup and outgroup members and another being positive and negative adjective words describing a person, Participants then rated their explicit attitude towards ingroup and outgroup. Finally, participants were asked to rate their attitude towards the essay which was believed that it was written either by one of their ingroups or by one of the outgroups. The results are as follow: 1. When ingroup names were associated with pleasant attributes, both high and low need for cognition groups respond by pressing the button to categorize those words more quickly than when outgroup names were associated with pleasant attributes. 2. The Implicit Association Test scores of both high and low need for cognition groups show that they all have implicit intergroup bias. 3. Both high and low need for cognition groups rate their explicit attitude towards their ingroups more positively than towards the outgroups. 4. The explicit attitude scores of both high and low need for cognition groups show that they all have explicit intergroup bias. 5. The explicit measure of intergroup bias of high need for cognition group does not correlate with the implicit measure of intergroup bias. 6. The explicit measure of intergroup bias of low need for cognition group correlates with the implicit measure of intergroup bias. 7. High need for cognition persons who read ingroup's essay do not rate their attitude towards the essay differently form high need for cognition persons who read outgroup's essay. 8. Low need for cognition persons who read ingroup's essay rate their attitude towards the essay more positively than low need for cognition persons who read outgroups' essay. |
en |
dc.format.extent |
1269325 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การตัดสินใจของกลุ่ม |
en |
dc.subject |
การประเมินผลงาน |
en |
dc.title |
อิทธิพลของกลุ่มที่มีองค์ประกอบความเป็นกลุ่มน้อยที่สุดต่อความลำเอียง ระหว่างกลุ่มที่วัดโดยตรงและโดยนัยและการประเมินคุณภาพผลงาน ของสมาชิกกลุ่มตนและกลุ่มอื่นในผู้ที่มีความต้องการทางปัญญาสูงและต่ำ |
en |
dc.title.alternative |
The influence of minimal group situation on implicit and explicit measures of intergroup bias and judgment of the performance of ingroup and outgroup in high and low need for cognition persons |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาสังคม |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
theeraporn.u@chula.ac.th |
|