DSpace Repository

การลอกด้วยกรดแลกติกในการรักษาฝ้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรทิพย์ ภูวบัณฑิตสิน
dc.contributor.advisor จิตต์ธิดา ชูแสงเลิศวิจิตร
dc.contributor.author นลินทร สุขวิริยะเสถียร, 2521-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-25T12:56:58Z
dc.date.available 2020-05-25T12:56:58Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.issn 9741766548
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66021
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract ความสำคัญและที่มาของการวิจัย :การลอกหน้าด้วยกรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ50 เป็นการลอกระดับตื้น (superficial chemical peeling) สามารถนำมาใช้ในการรักษาฝ้า ออกฤทธิ์โดยลดการเกาะตัวของเซลล์และ เพิ่มการหลุดลอกของเซลล์ ซึ่งมีเม็ดสีอยู่ทำให้ฝ้าจางลง วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลอกด้วยกรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ 50 เปรียบเทียบกับกลุ่ม ควบคุมในการรักษาฝ้า วิธีการทำวิจัย :ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 43 คน ผู้ป่วยจะได้รับการลอกด้วยกรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ 50 บริเวณซีกหน้าเพียงด้านหนึ่ง ซีกหน้าด้านที่ไม่ได้รับการลอกเป็นกลุ่มควบคุม ทำการลอกทุก 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 28 สัปดาห์ (14 ครั้ง) แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างของความเข้มข้นของฝ้าระหว่างซีกหน้าด้านที่ทำการลอกและไม่ทำการลอก ด้วยกรดแลกติกในการลอกครั้งที่ 9 และ 14 โดยใช้เครื่องมือวัดที่ใช้อ้างถึงความเข้มของฝ้า คือ Chroma-meter CR-300 ผลการวิจัย : จากจำนวนผู้ป่วย 43 คน พบว่าผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษา 40 คน จนสิ้นสุดการรักษาพบว่าในการลอก ครั้งที่ 9 ความเข้มของฝ้าบริเวณซีกหน้าด้านที่ลอกด้วยกรดแลกดิกความเข้มข้นร้อยละ 50 ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับซีกหน้า ด้านที่ไม่ได้ทำการลอก (P<0.005) เมื่อประเมินด้วยเครื่องมือวัดค่าที่ใช้อ้างอิงถึงความเข้มของฝ้า และพบว่าในการลอกครั้งที่ 14 ความเข้มของฝ้าบริเวณซีกหน้าด้านที่ทำการลอกด้วยกรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ 50 ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับซีกหน้า ด้านที่ไม่ได้ทำการลอก (P<0.001) เมื่อประเมินด้วยเครื่องมือวัดค่าที่ใช้อ้างอิงถึงความเข้มของฝ้า อาการข้างเคียงคือรอยดำ (postinflammatory hyperpigmentation) พบในผู้ป่วย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ซึ่งรอยดำที่เกิดขึ้นนี้หายไปภายใน 4 สัปดาห์ ส่วน milia พบในผู้ป่วย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 สรุปผลการวิจัย : จากการศึกษาพบว่ากรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ 50 มีประสิทธิภาพในการรักษาฝ้า สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาฝ้า
dc.description.abstractalternative Background : Lactic acid (50%w/v) is a superficial chemical peeling agent. It is used to treat melasma. The mechanism of action is by diminishing corneocyte cohesion and increasing desquamation of pigmented keratinocyte. The melasma will be improved. Objective : Our purpose was to determine the efficacy of lactic acid (50%w/v) in treatment of melasma. Methods : Forty-three patients with melasma from outpatient unit Department of Dermatology in the King Chulalongkorn Hospital were enrolled in this study. Fifty percent lactic acid was used in treatment of melasma on half of the face of each patient once every 2 weeks until 6 months (14 times). Chroma-meter CR300 is used to qualify the degree of clinical improvement at the time of ninth and forteenth to detect measure peels. Results : Forty patients were complete the study. A statistically significant IN treatment groups was observed at time 9 (p-value <0.005) and time 14 (P-value < 0.001). Postinflammatory hyperpigmentation was observed in two patients (5%) but it resolved within four weeks. Milia was found in two patients (5%). Conclusion : We conclude that fifty percent lactic acid is an effective method in the treatment of melasma
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผิวหนัง -- โรค en_US
dc.subject ไฝและฝ้า en_US
dc.subject กรดแล็กติก en_US
dc.subject Skin -- Diseases en_US
dc.subject Mole (Dermatology) en_US
dc.subject Lactic acid en_US
dc.subject Chrysomela en_US
dc.title การลอกด้วยกรดแลกติกในการรักษาฝ้า en_US
dc.title.alternative Lactic acid peels in treatment of melasma en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record